- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้
ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
การศึกษาเป็นแกนสำคัญในการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม การศึกษานั้นมีสองแบบ คือ การศึกษาแบบตามสนองสังคม กับการศึกษาแบบนำทางสังคม
การศึกษาที่แท้ ต้องเป็นการศึกษาที่นำทางสังคม ไม่ใช่เป็นแค่การศึกษาที่ตามสนองสังคม
ปัจจุบันนี้ การศึกษาเป็นไปในลักษณะของการตามสนองสังคมมาก อย่างน้อยก็มุ่งเพียงจะทำหน้าที่ผลิตกำลังคนให้แก่ประเทศชาติ เพื่อสนองความต้องการของระบบเศรษฐกิจ
เขาบอกว่า ขณะนี้ ประเทศกำลังพัฒนา ต้องการกำลังคนด้านนี้มาก ฝ่ายการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ผลิตคนในด้านนั้นด้านนี้ให้เพียงพอตามความประสงค์ของรัฐ หรือตามความต้องการของตลาดแรงงาน เป็นต้น
ถ้าทำได้แค่นี้ ก็เรียกว่าเป็นการศึกษาเพื่อตามสนองสังคม
จริงอยู่ การสนองความต้องการอย่างนี้ ก็เป็นภาระด้านหนึ่งของการศึกษา แต่มันไม่ใช่เนื้อแท้ของการศึกษา มันเป็นส่วนนอก หรือส่วนวงนอกของการศึกษา และเป็นส่วนปลีกย่อย แค่นั้นยังไม่ถึงเนื้อแท้ของการศึกษา
การศึกษาที่แท้ ต้องเป็นตัวนำสังคม เพราะฉะนั้น เราจะต้องเป็นผู้นำสังคม ถ้าสังคมเดินทางผิด การศึกษาก็ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มันเดินทางให้ถูก
ขณะนี้ ถึงเวลาที่เราต้องการความเปลี่ยนแปลงทางสังคมแล้ว และการเปลี่ยนแปลงนี้ จะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นรากฐาน ถึงขั้นความคิดจิตใจ ถึงขั้นค่านิยม ถึงขั้นภูมิปัญญา แล้วครูอาจารย์อะไรที่จะทำงานนี้ได้
ครูอาจารย์วิชาทั่วไป โดยมากก็ทำได้แค่ตามสนองสังคมเท่านั้น วิชาต่างๆ มักเป็นวิชาชีพ แม้แต่วิทยาศาสตร์ และวิชาทั้งหลายที่เป็นเนื้อหาแท้ๆ โดยมากก็ทำงานกันแค่เป็นวิชาตามสนองสังคม
แต่วิชาประเภทจริยธรรม โดยเฉพาะวิชาพุทธศาสนานี้ เป็นวิชาที่มีหน้าที่โดยตรงที่จะนำทางสังคม แต่มีข้อแม้ว่า ต้องจับหลักของตัวเองให้ได้ เข้าถึงจุดแล้ว จึงจะเป็นการศึกษาที่แท้จริง
จริยธรรม ที่ว่ามีหน้าที่นำทางสังคม และเป็นการศึกษาที่แท้นั้น หมายถึงจริยธรรมที่มีความหมายครอบคลุมถึงปัญญาด้วย
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาถือว่าปัญญาเป็นส่วนสำคัญที่สุดของจริยธรรม เพราะต้องรู้ จึงจะทำหรือประพฤติได้ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงทำไปตามคำสั่งที่ต้องเชื่อ
ถ้าจริยธรรมไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็พิการ ไม่ใช่เป็นการศึกษา และนำทางสังคมไม่ได้
ขณะนี้ เราต้องการเปลี่ยนแม้กระทั่งสภาพจิตของคนไทย จากความเป็นผู้ตามและเป็นผู้รับ ให้ขึ้นมาสู่ความเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้
จะต้องตั้งจิตใจให้มั่นคง ให้เป็นการอธิษฐานจิตเด็ดเดี่ยวว่า ต่อไปนี้ จะต้องสร้างเด็กไทยให้เป็นผู้มีจิตสำนึกของความเป็นผู้นำ และเป็นผู้ให้ เลิกกันทีกับการเป็นผู้ตาม หรือเป็นผู้รับ ผู้ได้แต่รอ
ในการที่จะเป็นผู้นำนั้น เราจะต้องเป็นผู้ซึ่งมีอะไรที่จะให้แก่เขา เมื่อเรามีอะไรให้แก่เขา เราก็จะเป็นผู้นำได้
คนไทยเราเคยสำรวจตัวเองไหมว่า เรามีอะไรที่จะให้แก่ผู้อื่นบ้าง อย่างน้อยก็ให้ได้ชื่อว่าประเทศไทยเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อารยธรรมของโลก ไม่ใช่เป็นผู้ด้อย มีแต่คอยตามเขาอยู่ โดยไม่มีความสำคัญอะไรเลยในประวัติการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษยชาติ
พอเรามีอะไรที่จะให้แก่อารยธรรมของโลกบ้าง เราก็จะมีความเป็นผู้นำขึ้นมาทันที
ถ้าเราสร้างจิตสำนึกนี้ขึ้นมาได้แล้ว เราก็จะมองเห็นตัวเอง แล้วเราก็จะรู้เองว่า เรามีอะไรที่จะให้แก่ผู้อื่น แล้วความเป็นผู้นำก็จะเกิดขึ้น
ข้อสำคัญก็คือ จะต้องสร้างจิตสำนึกของความเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ขึ้นมาให้ได้ การศึกษาจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นที่จุดยืนนี้
สภาพจิตที่เคยชิน ที่ฝังลึกกันมานานเป็นร้อยปี จะต้องเปลี่ยนแปลงเสียที มิฉะนั้น การศึกษาของประเทศไทยจะไม่เดินหน้า
No Comments
Comments are closed.