- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้
ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
ทีนี้ กลับมาเรื่องมานะอีกทีหนึ่ง มานะนี้ ในเมื่อเป็นปุถุชนกันอยู่ แทนที่จะเลิกพรวดพราดไป เราก็เอามาใช้ประโยชน์เสีย แต่ใช้ประโยชน์อย่างมีเป้าหมาย คุมให้ดี จัดการมัน อย่าให้มันเสีย
จัดการอย่างไร คือ เราต้องเลิกมานะอย่างต่ำ เลิกมานะเพื่อตัว ชนิดที่เต็มไปด้วยโมหะ และเอามานะชนิดที่ประณีตขึ้นมา ที่มีโมหะน้อยลง มาแทนที่ อย่างนี้เรียกว่ามีการพัฒนาขึ้นมาบ้าง แล้วค่อยก้าวไปสู่ความหมดมานะ หรือกำจัดมานะอีกทีหนึ่ง
ยกตัวอย่างมานะที่เต็มไปด้วยโมหะเป็นอย่างไร คือความถือตัว ความอยากอวดโก้กันเอง หรืออยากจะโก้ อวดพวกตัวเอง ไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ไม่รู้พื้นเพภูมิหลังในสิ่งที่กระทำ เห็นว่าเป็นของฝรั่ง ก็เห็นว่าโก้ แล้วทำเพียงด้วยความรู้สึกโก้
อย่างนี้ เรียกว่ามานะที่เต็มไปด้วยโมหะ ประกอบด้วยโมหะ หรืออยู่ใต้ความครอบงำของโมหะโดยสิ้นเชิง
เพื่อละมานะอย่างหยาบนี้ เราก็ขยับขึ้นมามีมานะอีกขั้นหนึ่ง มานะที่ดีขึ้นก็คือ ความรู้สึกมีความภูมิใจในตัวเอง โดยมีความรู้เข้าใจเหตุผลในสิ่งที่กระทำ
ความภูมิใจในตัวเอง ที่รู้เข้าใจเหตุผลในการกระทำ ก็เป็นมานะเหมือนกัน แต่เป็นมานะที่ประกอบด้วยปัญญามากขึ้น โมหะน้อยลง เราเอามานะตัวนี้มาแทนที่ ให้คนมีมานะที่ถูกต้อง
แม้แต่การสร้างจิตสำนึกในการเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ สำหรับปุถุชนก็อาจเป็นการสร้างมานะชนิดหนึ่ง เพราะทำให้มีความรู้สึกภูมิใจในสถานะที่จะเป็นผู้นำ และอยากจะมีสถานะของความเป็นผู้นำนั้น ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นเร้าตัวเอง ทำให้สร้างความรู้สึกนี้อยู่เสมอ ว่าเราจะต้องเป็นผู้นำ และเป็นผู้ให้
นี้เป็นมานะ แต่ประกอบด้วยปัญญา เข้าสู่วิถีของการที่จะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อเรารู้เท่าทันอยู่ เราก็ก้าวไปสู่การพัฒนาคนให้ดีขึ้นไปอีกตามลำดับ จนกระทั่งต่อไปก็ทำด้วยเหตุผลและปัญญาล้วนๆ เพราะเราไม่ต้องการจะมามัวแข่งกับเขา เพื่อให้เราเหนือเขาหรืออะไรอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์
อย่างลัทธิชาตินิยม ก็ใช้มานะมาปลุกเร้าทั้งสิ้น แต่ก้าวจากมานะเพื่อตัว ขึ้นไปสู่ขั้นของมานะเพื่อชาติ ทำให้ทำการทุกอย่างได้สำเร็จ เพื่อให้ชาติของตนยิ่งใหญ่ เช่น ชาตินิยมของญี่ปุ่น ก็ให้คนญี่ปุ่นทำได้ทุกอย่าง เพื่อให้ชาติญี่ปุ่นยิ่งใหญ่ ไม่ว่าอะไรๆ ญี่ปุ่นต้องเป็นหนึ่งในโลก
อย่างไรก็ตาม มานะแบบชาตินิยมนี้ แม้จะทำให้สร้างความสำเร็จได้ดี แต่ในที่สุดก็เป็นไปเพื่อการข่มเหงเบียดเบียนผู้อื่น เอาแต่ประโยชน์ของพวกตน ใครจะเป็นอย่างไรก็ช่าง
ต่างจากจิตสำนึกในความเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้นี้ ซึ่งเมื่อพัฒนาไปถึงที่สุดแล้ว ก็จะไม่หลงตัวเอง แต่จะมีปัญญารู้ว่า ที่เราจะเป็นผู้นำนี้ ไม่ใช่เพื่อจะยกตัวข่มใคร หรือจะไปครอบงำใคร แต่มุ่งสู่ความเป็นมิตร และในที่สุดแล้ว เราทำเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทั้งหมด เพื่อความเป็นสุขร่วมกันในโลกนี้ เพื่ออารยธรรมของมนุษย์ที่ดีงาม และงอกงาม
ฉะนั้น เราจะต้องก้าวไปตามลำดับ ในเรื่องของการให้การศึกษานี้ เราไม่ใช่จะมองอยู่แค่เฉพาะตัวบุคคล แต่มองไปถึงอารยธรรมของโลกมนุษย์ทั้งหมดด้วย และเมื่อก้าวไปในวิถีที่ถูกต้องแล้ว ชีวิตบุคคล กับอารยธรรมของสังคมมนุษย์ทั้งหมด ก็จะสัมพันธ์ในทางที่ประสานเกื้อกูลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตกลงว่า ตอนนี้ก็ขอผ่านเรื่องนี้ไปก่อน
เอาเป็นว่า เรื่องการแก้ปัญหาการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกด้วยมานะที่เต็มไปด้วยโมหะนี้ ควรละเลิกเสีย แล้วขยับขึ้นมาสู่สภาพที่ประณีตยิ่งขึ้น คือการมีมานะที่ประกอบด้วยปัญญา โดยสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ขึ้นมา
พึงตั้งใจมุ่งแน่วไปว่า เราจะแก้ไขละเลิกสภาพจิตที่ฝังรากลึกในประเทศไทยมาเป็นร้อยปี คือสภาพจิตของความเป็นผู้ตามและเป็นผู้รับ ให้หมด หรือให้บรรเทาเบาบางเสียที
No Comments
Comments are closed.