มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ

9 มิถุนายน 2547
เป็นตอนที่ 7 จาก 40 ตอนของ

มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ

พระพุทธศาสนามองดูมนุษย์ว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มีศักยภาพในการพัฒนาหรือฝึกฝน และมนุษย์ที่ดี คือมนุษย์ที่ฝึกตน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ พัฒนาได้สูงสุด เหนือกว่าสัตว์อื่น

ประเด็นอยู่ที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ นี่คือสิ่งที่เราคิดว่า เป็นจุดสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา เราต้องคิดถึงการพัฒนาบุคคล

พระพุทธศาสนามองมนุษย์ในโลกว่า มีความแตกต่างกันหลายระดับ เรียกว่ามีความหลากหลาย แต่ความหลากหลายในที่นี้ หมายความถึงความหลากหลายของคนในหลากหลายระดับ

ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทุกคนเหมือนกัน ในขณะเดียวกัน ทุกคนไม่สามารถอยู่ในระดับเดียวกัน

อาตมาคิดถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่พยายามทำให้ทุกคนมีความเป็นอยู่อย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

อาตมาคิดว่าทุนนิยมเสรีก็เหมือนกัน ดูเหมือนจะคิดว่า คนทุกคนเป็นเหมือนกันหมด

เราควรเปลี่ยนแนวความคิดนี้ เราต้องเห็นไปตามความเป็นจริงว่า คนต่างกันหลากหลาย มีการพัฒนาหลายระดับ เราควรพัฒนาระบบสังคม เริ่มต้นด้วยระบบเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมกับคนหลากหลายระดับในแต่ละระดับ ไม่ใช่มองพวกเขาว่าเหมือนกัน

แม้แต่ในเรื่องความสุข คนทุกคนแตกต่างกัน คนหลายคน หรือคนจำนวนมาก เป็นพวกที่มีความสุขจากการพึ่งพา คือต้องอาศัยสิ่งภายนอก ความสุขของเขาขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือสิ่งสนองกามคุณ ๕ แต่พวกเขาไม่ควรหยุดอยู่แค่นั้น เขาควรพัฒนาตัวเองให้มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนมากขึ้น อย่างน้อยที่สุด มีความเข้าใจถึงความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพา ไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่า นิรามิสสุข

นิรามิสสุข หรือความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก ไม่ต้องขึ้นต่อวัตถุ คือ ความสุขภายในตัวบุคคล ซึ่งสิ่งนี้สามารถพัฒนาให้เกิดมีขึ้นได้ เห็นได้จากการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา

ตอนก่อนหน้า/ตอนต่อไป<< โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่ายศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ >>

No Comments

Comments are closed.