- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา
จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
ขอเล่าสักหน่อยว่าเรื่องนี้เป็นมาอย่างไร เขาสืบลงไปว่า การพัฒนาที่ผิดพลาดของตะวันตกทั้งหมดนั้น ในที่สุดแล้วก็เกิดจากแนวความคิดที่ผิดพลาด เริ่มแต่ท่าทีต่อธรรมชาติ
ชาวตะวันตกนั้นมีรากฐานทางความคิดที่มองธรรมชาติต่างหากจากมนุษย์ โดยมองมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ และมองธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับเอามารับใช้สนองความต้องการของมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้ที่จะครอบครองธรรมชาติ และจัดการกับธรรมชาติตามพอใจ เพื่อสนองจุดหมายของตน
เวลานี้ หนังสือของอเมริกันก็ตาม ของฝรั่งอื่นก็ตาม ที่วิเคราะห์เรื่องนี้ ที่กำลังหาทางเปลี่ยนแปลงลงมาถึงขั้นรากฐานทางความคิด ต่างก็ยอมรับมตินี้ ฉะนั้นในการแก้ปัญหาจึงมีการย้ำอยู่บ่อยๆ ว่า ต่อไปนี้มนุษย์จะต้องมองตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ขอให้สังเกตดูเถิด ที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไร ก็เพราะพวกฝรั่งมองมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติมาโดยตลอด
หนังสือบางเล่มบอกชัดเจนว่า อารยธรรมของเรา คือตะวันตกนั้น สอนให้มนุษย์มองตัวเองแยกต่างหากจากธรรมชาติ ความคิดของตะวันตกทุกอย่างสอดคล้องกันในแง่ที่สืบทอดขยายออกมาจากรากฐานความคิดอันนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ หรือศาสนา หรือปรัชญา ตลอดจนเศรษฐศาสตร์ก็มองอย่างนี้
ดังนั้น แม้จะมองในแง่การเมืองและระบบเศรษฐกิจของโลก ไม่ว่าจะเป็นค่ายทุนนิยม หรือค่ายสังคมนิยม ก็มองแบบนี้หมด คือมองด้วยแนวความคิดพื้นฐานเดียวกันว่า มนุษย์เป็นต่างหากจากธรรมชาติ มนุษย์จะเป็นผู้ครอบครองธรรมชาติ มนุษย์จะเป็นผู้จัดการกับธรรมชาติเพื่อเอามาสนองความต้องการของตน ซึ่งได้กลายมาเป็นต้นตอของปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดของโลกในปัจจุบัน
ฉะนั้น แนวความคิดนี้จะต้องเปลี่ยน เพราะแนวความคิดนี้เป็นรากฐานของการพัฒนาของตะวันตกทั้งหมด ที่ได้ดำเนินมาเป็นพันๆ ปี แล้วก็เพิ่งมารู้ว่าผิดพลาด เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน
Al Gore เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้เขียนยอมรับไว้ อาตมาจะอ่านให้ฟัง ในหนังสือ Earth in the Balance Al Gore ที่เป็นรองประธานาธิบดีอเมริกาในปัจจุบัน ได้วิเคราะห์ แล้วลงมติว่า
It is certainly true that our civilization is built on the premise that we can use nature for our own ends without regard to the impact we have on it.
ขอแปลว่า: เป็นความจริงอย่างแน่นอนว่า อารยธรรมของเรา(คืออารยธรรมตะวันตก) สร้างขึ้นบนฐานความเชื่อที่ว่า เราสามารถใช้ธรรมชาติ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ของเรา โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อธรรมชาตินั้น
อันนี้เป็นคำของ Al Gore ซึ่งได้ยอมรับว่า การมองความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างผิดพลาดนั้น เป็นความจริงที่ได้มีมาในอารยธรรมตะวันตก อย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย
No Comments
Comments are closed.