- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม
เริ่มต้นพระพุทธศาสนาให้มีการรักษาศีล ๕1 คือ หลักการที่เป็นเหมือนพื้นฐานของสังคม เพื่อก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม แต่มันไม่ได้ให้ความมั่นใจในเรื่องความสุขของมนุษย์ มันช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติมากขึ้น โดยไม่มีการทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย และทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น สำหรับมนุษย์ทุกคนที่อยู่ร่วมกัน และช่วยให้บุคคลแต่ละคน มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น
ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
เหนือกว่านั้น เรายังมีศีล ๘2 เพื่อช่วยเสริมส่งให้คนที่มีอามิสสุข (ความสุขด้วยการอาศัยสิ่งภายนอก ขึ้นต่อวัตถุหรือสิ่งเสพบริโภค) ได้ก้าวหน้าไปสู่นิรามิสสุข (ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก ไม่ขึ้นต่อวัตถุหรือสิ่งเสพบริโภค)
ในศีล ๘ เราจะเห็นได้ว่ามีศีลเพิ่มขึ้น ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนอื่น ไม่ได้สัมพันธ์กับการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งต่างจากศีล ๕ ข้อแรก ศีลห้าเกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ศีลแปดแตกต่างไป
อย่างศีลข้อ ๓ ในศีลแปด หมายถึง เมถุนวิรัติ คือ งดกิจกรรมทางเพศ และเพิ่มศีลอีก ๓ ข้อ ศีลข้อหก งดรับประทานอาหารในยามวิกาล คือ งดอาหารตั้งแต่เที่ยงไปถึงวันใหม่ ศีลข้อที่เจ็ด เว้นจากการร้องรำ บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น และลูบไล้ร่างกายด้วยเครื่องหอม หรือตกแต่งประดับร่างกาย ศีลข้อที่แปด เว้นจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย
จะเห็นได้ว่า ศีล ๓ ข้อหลังนี้ เป็นศีลที่ใช้สำหรับฝึกฝนตนเองส่วนตัว คือ การสละความสุขทางกาม และวัตถุต่างๆ และใช้เวลาที่เหลือในการพัฒนาจิตใจ ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม
เมื่อได้รักษาศีลแปดก็จะพบว่า เราก็สามารถอยู่ได้อย่างดีมีความสุข โดยไม่ต้องอาศัยกามคุณต่างๆ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงสอนให้พุทธศาสนิกชนรักษาศีลแปดเดือนละสี่ครั้ง อย่างน้อยที่สุด เขาก็ไม่ต้องเสียอิสรภาพ อิสรภาพในที่นี้ คือ การมีความสุขโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก เรามีความสุขที่เป็นอิสระจากกามคุณ ๕ และเรายังสามารถพัฒนาไปได้มากกว่านั้น นี่คือตัวอย่างของความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยสิ่งภายนอก
บุคคลควรจะได้รู้จักกับความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัย ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก เมื่อเขารักษาศีลแปด เขาสามารถมีความสุขได้ง่ายขึ้น คนทั่วไป ก่อนการรักษาศีลแปด เขาอาจพูดว่าเขาต้องมีนั่นมีนี่ ถ้าไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ก็จะไม่มีวันมีความสุขได้เลย แต่หลังจากได้ผ่านการรักษาศีลแปดมาแล้ว เขาก็จะเปลี่ยนไป มีความอยากน้อยลง คือ แม้จะไม่มีนั่น ไม่มีนี่ ที่เคยอยากได้อยากมีมาก่อน ก็รู้สึกใหม่ว่า ไม่เป็นไร อยู่ได้มีความสุขได้
เชิงอรรถ
- ศีล ๕ หรือ เบญจศีล ความประพฤติชอบทางกาย วาจา การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว การควบคุมตนให้ตั้งตนอยู่ในความไม่เบียดเบียน ๑. เว้นจากการปลงชีวิต การฆ่า การประทุษร้ายกัน ๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง ๕. เว้นจากน้ำเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ
- ศีล ๘ หรือ อัฏฐศีล พุทธศาสนิกชนนิยมสมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ (วันพระ) จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อุโบสถศีล
No Comments
Comments are closed.