- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
จะอย่างไรก็ตาม ข่าวสารที่ออกมาอย่างนี้ ก็เป็นเครื่องแสดงถึงสภาพ ๓ ด้าน ที่เราจะต้องพิจารณา คือ
- สภาพการคณะสงฆ์ และการพระศาสนา
- สภาพของสื่อมวลชน
- สภาพของประชาชน ผู้รับฟังข่าวสาร
ทั้งสามด้านนี่สัมพันธ์กันทั้งหมด สำหรับในแง่ของสภาพคณะสงฆ์ ข่าวนั้นจะจริงหรือไม่จริง หรือจะมีส่วนจริงแค่ไหนอย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีเค้าอยู่ เมื่อมีเค้าอยู่ ก็แสดงถึงสภาพความเสื่อมโทรมโดยทั่วไป
ทีนี้ ในแง่ของการเสนอข่าว ในยุคข่าวสารข้อมูลนี้ ลักษณะของข่าวสารก็ขึ้นกับสภาพสังคมด้วย
ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่า ข่าวร้ายได้รับการเผยแพร่กันมาก แต่ข่าวดีไม่ค่อยได้รับการเผยแพร่ อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ส่อแสดงถึงความเป็นไปของสังคมว่า การเข้าสู่ยุคข่าวสารข้อมูลของเรานั้นดำเนินไปด้วยดีหรือไม่เพียงใด และสถาบันที่รับผิดชอบในการเสนอข่าวสาร ที่เรียกว่าสื่อมวลชนนั้น มีความรับผิดชอบต่อสังคมแค่ไหน
ข่าวความสำเร็จในการประดิษฐ์คิดค้น หรือความสำเร็จทางปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นความก้าวหน้าใหม่ ซึ่งจะเป็นเครื่องกระตุ้นและส่งเสริมแนวโน้มและพลังที่ดีงาม พร้อมทั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศชาติ และเป็นการร่วมสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษยชาติ และข่าวการเสียสละพากเพียรบำเพ็ญคุณความดีอันยิ่งใหญ่ หรือก่อประโยชน์สุขแก่มหาชน แทนที่จะขึ้นพาดหัวข่าวหน้าหนึ่ง กลับไปซุกซ่อนอยู่ในคอลัมน์เล็กๆ ข้างใน ที่แทบไม่มีใครมองเห็น
แต่หน้าแรกที่สำคัญนั้น กลับเป็นที่ชุมนุมของข่าวการฆ่าฟันสังหาร และอาชญากรรมเฉพาะราย ที่ทำจิตใจและปัญญาให้อับเฉามืดมัว
ต่อจากนั้น ประการที่สามก็คือ ตัวประชาชนผู้รับฟังข่าวสาร ซึ่งมีปัญหาว่า มีการใช้ปัญญาหรือวิจารณญาณไตร่ตรองหรือไม่ หรือเพียงแต่ตื่นเต้นตามกันไป แล้วก็เป็นเหยื่อของข่าวที่หละหลวมคลุมเครือ หรือการโฆษณา ไม่สามารถจะทันต่อความเป็นไปที่สำคัญและเป็นสาระ หรือรู้เท่าทันต่อข่าวสารที่ถูกนำเสนอ แล้วก็ไม่สามารถจะถือเอาประโยชน์ที่แท้จริงจากข่าวสารเหล่านั้นได้
คนที่อ่านข่าวตื่นเต้นร้ายแรงหน้าหนึ่ง น้อยคนจะรู้จักอ่านให้ได้คติ หรือได้แรงกระตุ้นเร้าในการที่จะคิดแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่ที่จะให้เกิดความไม่ประมาท
หนังสือพิมพ์ลงข่าวพระภิกษุอายุ ๗๐ ปี หรือแม้กระทั่ง ๘๐ ปี ประกอบกรรมชั่ว ผู้อ่านซึ่งขาดความตระหนักรู้ต่อสภาพสังคมของตน มองภาพเป็นพระภิกษุที่บวชมานาน คิดว่า ทำไมพระที่อยู่ในพระศาสนามาถึงเพียงนี้ ยังมีกิเลสชั่วร้ายนักหนา
ผู้อ่านหารู้ไม่ว่า บุคคลผู้นั้น ก็คือชาวบ้านแก่เฒ่าผู้อาศัยช่องว่าง ขณะที่วัดในชนบทมากมายกำลังจะกลายเป็นวัดร้าง และขณะที่สังคมทั่วไปไม่ใส่ใจดูแลสมบัติของตน เขาก็แฝงตัวผ่านเข้าสู่ช่องทางการบวชที่หละหลวม บวชเข้ามาเป็นพระแก่พระหลวงตาเพื่อจะทำการที่ตนปรารถนาได้โดยสะดวก
ด้านผู้อ่าน ก็ขาดความรู้ความเข้าใจต่อสภาพวัดและพระสงฆ์ในปัจจุบันที่จะวิเคราะห์ความจริง ด้านสื่อมวลชน ก็เสนอข่าวโดยไม่ให้ข้อมูลเพียงพอที่จะให้เกิดปัญญา
นี้ก็เป็นเรื่องของข่าวความเสียหาย นอกจากข่าวความเสียหายแบบนี้แล้ว ก็มีอีกด้านหนึ่งคือ เรื่องที่ประชาชนวิจารณ์กันในแง่ว่า พระแข่งกันทำกิจกรรมในแง่หาเงินหาทอง มุ่งแต่จะหาเงินหาทองกันเหลือเกิน และทำด้วยวิธีการต่างๆ
แล้วก็อวดกันในเรื่องสิ่งก่อสร้าง เช่นการสร้างพระที่ใหญ่ที่สุดในโลกบ้าง ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบ้าง อะไรทำนองนี้ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ในการใช้สอย หรือประโยชน์ต่อพระศาสนาระยะยาว ไม่อ้างอิงไปถึงเหตุถึงผลว่า วัตถุนั้น การสร้างนั้นจะช่วยนำคนให้รู้เข้าใจธรรม ให้ประพฤติดีมีศีลมีธรรมอย่างไรๆ
No Comments
Comments are closed.