- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว
โลกหันหาทางเลือกใหม่
เป็นอันว่า ตอนนี้ฝรั่งยอมรับว่าแนวความคิดของตะวันตก ตลอดประวัติศาสตร์ของอารยธรรมนับพันปี ได้สอนอย่างเดียวกันหมด มีเถียงกันอยู่นิดก็ในตอนที่ว่าด้วยรายละเอียด ซึ่งบางอย่างก็ไม่เหมือนกันบ้าง
อย่าง Mr. Clive Ponting นี้ตีศาสนาคริสต์หนักเลย เขาบอกว่า เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์มองธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องรับใช้มนุษย์ มนุษย์จะต้องครอบครอง ครอบงำ จัดการกับธรรมชาติตามชอบใจ เอาธรรมชาติมารับใช้สนองความต้องการของมนุษย์
Al Gore ค้านตรงนี้ว่า ศาสนาคริสต์ไม่ได้สอนถึงขนาดนั้น ศาสนาคริสต์สอนแต่เพียงว่า พระเจ้าสร้างธรรมชาติ คือสัตว์และพืช สร้างชีวิตทั้งหลายขึ้นมา ให้อยู่ในความดูแลของมนุษย์ โดยเป็นสมบัติของพระผู้เป็นเจ้า ให้มนุษย์มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เพื่อจะได้ดูแลสมบัติของพระผู้เป็นเจ้าไว้ เรียกว่าให้มนุษย์ทำหน้าที่ของสจ๊วต Al Gore เถียง Clive Ponting เป็นต้นอย่างนี้
ตอนนี้ ในรายละเอียด ฝรั่งมีความเห็นแตกต่างกันบ้าง แต่ในความคิดรวบยอด หรือในความคิดโดยสรุปแล้ว เหมือนกัน
Al Gore เถียงว่า ไม่อยากให้ศาสนาคริสต์ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ เขายอมรับว่าศาสนาคริสต์สอนว่า พระเจ้าสร้างธรรมชาติให้อยู่ในอำนาจครอบงำของมนุษย์ แต่เขาตีความว่ามนุษย์จะต้องดูแลรับผิดชอบธรรมชาติ ในฐานะเป็นสมบัติของพระเจ้า ไม่ใช่จะทำตามชอบใจตนเอง มนุษย์มีหน้าที่ดูแลธรรมชาติแทนพระองค์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม Al Gore ก็ยอมรับว่า พวกนักบวชคริสต์ หรือสถาบันศาสนาคริสต์ ไม่เข้าใจความคิดเดิมของคัมภีร์ จึงไปสมาทานแนวความคิดของกรีก แล้วแนวความคิดของกรีกก็เข้ามาครอบงำคำสอนของคริสต์ศาสนาตลอดมา
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเจตนารมณ์เดิมของคริสต์ศาสนาจะสอนว่าอย่างไรก็ตาม แต่คำสอนที่มีผลในทางปฏิบัติก็ออกมาเป็นแบบเดียวกัน ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คือสอนให้มนุษย์มองธรรมชาติในแง่ที่ตนจะเข้าไปจัดการเอามารับใช้สนองความต้องการของตน และ Al Gore ก็ติเตียนพวกนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในปัจจุบัน ที่ยังคงสอนให้คนมองธรรมชาติตามแบบปรัชญากรีก
แล้ว Al Gore ก็ตี Plato บอกว่า ความคิดและคำสอนของศาสนาคริสต์ที่ให้จัดการกับธรรมชาตินั้น ได้รับอิทธิพลมาจาก Plato อันนี้เป็นรายละเอียดที่เราไม่จำเป็นต้องพูดมาก
เอาเป็นว่า ขณะนี้ฝรั่งกำลังเดินมาถึงจุดแห่งความสำนึกนี้แล้ว
ดังที่ได้ยกตัวอย่าง Clive Ponting ที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า แนวความคิดของศาสนา ปรัชญา และศาสตร์ทั้งหลายในตะวันตกทั้งหมด ได้มองมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ และเป็นเจ้าเป็นนายที่จะเข้าไปจัดการกับธรรมชาติ
แล้วเขาก็บอกต่อไปว่า แนวคิดของตะวันตกนี้แตกต่างตรงข้ามกับศาสนาตะวันออกทั้งหลาย ซึ่งไม่ได้มองมนุษย์แยกจากธรรมชาติ แต่มองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
อันนี้เป็นเรื่องของเราเอง ที่จะต้องวิเคราะห์ดู ฝรั่งเขามองได้เท่าที่เขาเห็น เราเป็นเจ้าของเรื่องเอง จะต้องมาพิจารณาว่าตัวเรามีรากฐานความคิดอย่างไร
ใจความก็คือว่า เวลานี้ ฝรั่งปัจจุบันเกิดความผิดหวัง ไม่พอใจกับความคิดหรือภูมิปัญญาที่เป็นรากฐานแห่งอารยธรรมของตน และหันมาสนใจความคิดตะวันออกในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ที่มีความเป็นมิตรกับธรรมชาติ เราก็ควรรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวนี้ด้วย
พระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในระบบของความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ตามกระบวนการของธรรมชาติ พูดง่ายๆ ว่า เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การกระทำและความเป็นไปของมนุษย์ทั้งทางกายและในจิตใจทั้งหมด อยู่ในระบบความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ฉะนั้น ทุกอย่างในโลกจึงอยู่ในระบบเดียวกันทั้งนั้น
การเคลื่อนไหวทุกอย่างที่เกิดขึ้นมา เป็นกรรม เป็นการกระทำแล้ว ย่อมมีผลกระทบส่งต่อๆ กันไป
อันนี้เป็นแนวความคิดที่ฝรั่งกำลังสนใจกันมาก
ฉะนั้น เมื่อชาวพุทธมองกว้างออกมาถึงความเป็นไปในโลกจริงๆ แล้ว ก็จะเห็นในสิ่งที่ตัวจะให้แก่โลกทันที พร้อมทั้งรู้ด้วยว่า ฝรั่งเป็นอะไร เป็นอย่างไร ต้องมองฝรั่งให้ทั่วตลอด อย่าไปมองแค่ภาพตื่นเต้นทางโทรทัศน์เท่านั้น
No Comments
Comments are closed.