- สถานการณ์พระพุทธศาสนา: พลิกหายนะ เป็นพัฒนา
- – ๑ – วงใน – ชั้นใน สภาพวัด และพระสงฆ์
- ภาวะขาดเณร: เกณฑ์บอกชะตาต่อไป
- สัญญาณเตือนภัย: ข่าวว่าพระทำไมประพฤติเสียหาย
- สภาพสังคมไทย ภาพสะท้อน-เห็นอะไรจากข่าวสาร
- มองพระสงฆ์ให้เป็น ก็เห็นสภาพสังคมไทย
- คิดดูให้ดี พุทธศาสนานี้เป็นของใคร
- มัวแต่ด่าว่าเขา ไม่รู้ว่าเรานี่แหละตัวสำคัญ
- คนสร้างสังคม สังคมสร้างคน ถ้าไม่ตัดวงจร ไม่แปรปัจจัย คนสร้างสังคมไว้อย่างไร ก็ได้คนอย่างนั้นมาสร้างสังคมต่อไป
- ฉลาดเชิงกลไก แต่ไม่พัฒนาปัญญา ท่องไปทั่วหล้า แต่ปัญญาอ้างว้าง
- ต้องพัฒนาตัวกันทุกคน ไม่มีใครหนีพ้นความรับผิดชอบ
- – ๒ – วงใน – ชั้นนอก สภาพพุทธศาสนิก
- ถ้ายึดหลักไว้ได้ ก็ยังไม่ร่วงหลุดไป
- จะสอนอย่างไร ก็ต้องให้เข้าสู่จุดเริ่ม ที่เขาจะก้าวต่อไปได้
- สอนเอาหลักเพื่อประโยชน์แก่เขา ไม่ใช่สอนเอาแต่ใจของตัว
- ไม่ใช่สอนเอาใจเขา แต่สอนนำเขาเข้าหาหลัก
- ถ้ายังเอาความศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องคิดให้ทางเลือกที่ถูกหลัก
- ไม่ใช่เอาใจเขา แต่เราทำอย่างรู้หลัก และไม่ใช่คิดจะเอาจากเขา แล้วมอมเมาให้เขวจากหลัก
- พัฒนาคนให้มีความสุขประณีตขึ้นไป สังคมก็จะได้จริยธรรมที่มั่นคง
- เมื่อเอาผลทางพลังจิตมาสนองด้านกาม พฤติกรรมก็ต้องเกิดความวิปริต
- – ๓ – วงนอก – ชั้นใน สภาพสังคมไทย
- ด้วยการเป็นผู้ตาม ก็ได้ยอมรับความด้อย ด้วยการมองความเจริญแบบนักบริโภค ก็รักษาความเป็นผู้ตามไว้ได้
- จะเอาอย่างเขา หรือไม่เอาอย่าง ก็อย่าไปสุดทางสองข้าง
- จะเอาอย่างเขาถูกต้อง จนเป็นผู้นำเขาได้ ต้องมีการศึกษาที่ดี มานำทางไป
- เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
- ตามเป็น เอาอย่างเป็น นับเข้าได้ในองค์ประกอบของการพัฒนา
- ความผิดเพี้ยนในวัฒนธรรมไทย บทเรียนให้ช่วยกันแก้ไข
- ไม่อยาก ก็พลาด แต่พออยาก ก็ผิด จะพัฒนาสัมฤทธิ์ ต้องอยากให้เป็น
- จากรับ-ตาม สู่ความเป็นผู้นำ-ผู้ให้ ก้าวยิ่งใหญ่ที่ท้าทายความสำเร็จ
- – ๔ – วงนอก – ชั้นนอก สภาวการณ์ของโลก
- มองดูคนที่เดินนำหน้า อย่าให้พาเราเดินหลงทาง
- คนข้างหน้าติดตัน หันรีหันขวาง เพราะเจอเหวดักหน้า ต้องหาทางกันใหม่
- ความก้าวหน้าที่แสนจะภูมิใจ กลายเป็นการหาภัยมาทำลายตัว
- เมื่อรู้ว่าทางตัน แม้จะหันไปหาทางใหม่ แต่ก็สูญเสียความหวัง ความมั่นใจก็หมดไป
- เมื่อผู้เดินนำหน้าเกิดอาการหวั่นไหว คนมีปัญญาต้องนำหาทางออกใหม่
- ต้องหยั่งรู้สาเหตุของปัญหา จึงจะมองเห็นทางแก้ไข
- เมื่อจับจุดปัญหาได้แน่ ก็สืบสาวเพื่อแก้ ให้ตรงกับเหตุปัจจัย
- อารยธรรมถึงจุดหักเลี้ยว โลกหันหาทางเลือกใหม่
- ผู้เคยเดินนำ ไม่แน่ว่าจะคลำหาทางไหว ผู้ใดเห็นทาง ผู้นั้นควรลุกขึ้นเดินนำไป
- สรุป
- บันทึกท้ายเล่ม
เอาอย่างด้วยปัญญา ถึงแม้เลียนแบบก็ต้องทำให้ดีกว่า
จึงจะมีคุณค่า ให้เขายอมนับถือ
ขอแทรกนิดหน่อยก่อนจะผ่าน ในสภาพปัจจุบันที่ประเทศเขาเจริญ เราก็ต้องยอมรับความจริงว่าเขามีความเจริญนำหน้า อย่างน้อยก็ในบางเรื่องหรือบางอย่าง เช่น ในทางเทคโนโลยี เป็นต้น และเราก็จะต้องไม่แข็งทื่อ ไม่ใช่ว่าจะต่อต้านไม่ยอมรับยอมตามใครเลย แต่ต้องทำอย่างมีหลัก
ถ้าเรามีจุดยืนที่ชัดเจน คือ มีความสำนึกในความเป็นผู้นำและผู้ให้แล้วนี้ เวลาเราจะทำตามเขา อย่างน้อยเราก็จะสำรวจตัวเอง จะพิจารณาแล้วเตือนตัวเองว่า ถ้าจะทำตามเขา ก็ต้องรู้และเข้าใจในสิ่งที่จะทำตามนั้น อย่าทำตามเพียงเพราะเห็นเป็นความโก้
ครูต้องบอกนักเรียนว่า ถ้าเธอจะทำตามเขาในอารยธรรมตะวันตก หรือวัฒนธรรมตะวันตก ให้ถามตัวเองก่อนว่า ที่เราทำนี้ทำเพียงเพราะเห็นว่าโก้เท่านั้น ใช่หรือเปล่า
ถ้าจะทำเพียงเพราะเห็นว่าโก้ ก็อย่าทำ แต่ทำตามเขาได้ ทำตามโดยรู้เข้าใจในสิ่งที่จะทำตามนั้นก่อน ว่าอะไรเป็นอะไร และทำไมเราจึงทำ
วันวาเลนไทน์เข้ามา เราตามกันด้วยความรู้สึกโก้ หรือด้วยความเข้าใจ มีความเข้าใจเป็นพื้นฐานหรือเปล่าที่จะทำ ถ้าทำด้วยความรู้เข้าใจ ก็เป็นผู้ที่มีสติปัญญา ถ้าทำตามเพียงเพราะความรู้สึกโก้ ก็เป็นคนหลงโง่เขลางมงาย ก็เท่านั้นเอง
ในเรื่องตามเขานี้ พฤติกรรมอย่างหนึ่งก็คือ การเลียนแบบ ซึ่งก็จะต้องมีการเตือนสติตนเอง นี่คือขั้นตอนของการแก้ไขในการที่จะเปลี่ยนจิตสำนึกเสียใหม่
จุดเริ่มใหม่ในสำนึกนี้ก็คือ ถ้าจะเลียนแบบเขา ก็ต้องมีอะไรดีกว่าเพิ่มเข้ามา ที่จะให้แก่เขา หรือที่จะให้เขาเห็นในการเลียนแบบนั้น อันนี้สำคัญมาก
ถ้าจะเลียนแบบเขา ก็ต้องมีอะไรที่ดีกว่าเดิมเพิ่มเข้ามา ถ้าเลียนแบบเขาเพียงเพราะเห็นว่าโก้ แล้วพยายามทำจะให้เหมือนเขา แต่ไม่เหมือนจริง ก็หมดความหมาย เขามาเห็น เขาก็ดูถูก
แม้แต่พูดภาษาอังกฤษ เราจะพูดได้ชัดอย่างฝรั่งหรือ ถ้าเราพูดด้วยความรู้สึกว่าโก้ เราพูดไม่ได้ชัดอย่างเขา ฝรั่งมาเห็นก็ดูถูกเอา เราก็ได้แต่พูดอวดคนไทยพวกเดียวกันเท่านั้นเอง
ในทางตรงข้าม ถ้าเรามีของดีที่จะบอก มีดีอยู่ในคำพูดของเรา แล้วเราไปพูดภาษาอังกฤษ ถึงเราจะพูดไม่ชัด ถึงเราจะไม่คิดอวดใคร การพูดของเราก็มีคุณค่า ถึงจะไม่อยากอวดโก้ มันก็โก้ ไม่ต้องอวดพวกเดียวกันหรอก อวดฝรั่งก็ได้
นึกถึงคนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษ คนญี่ปุ่นนั้นโดยมากพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่อง ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่พูดภาษาอังกฤษแย่ที่สุด แต่คนญี่ปุ่นพูดภาษาอังกฤษเมื่อไร ฝรั่งต้องฟังและฟังด้วยความตั้งใจ แล้วไม่รู้สึกเลยว่าดูถูก ไม่กล้าดูถูกด้วยซ้ำ
ทำไมเป็นอย่างนั้น เพราะในคำพูดของคนญี่ปุ่นนั้นๆ คนอื่นเห็นสำคัญที่จะรอฟังว่าอาจมีอะไรดี ที่จะให้แก่ผู้อื่น เขามีอะไรดีอยู่เป็นหลักของเขา หรือว่าเขาอาจจะมีอะไรบางอย่างที่เหนือกว่า
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะพูดภาษาอังกฤษ ก็อย่าพูดเพียงเพื่อแสดงว่าเราโก้ที่ได้พูดภาษาอังกฤษ หรือได้พูดภาษาของฝรั่ง เพราะเราจะไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีอย่างเขา เขาจะดูถูกเอา เราจะต้องมีอะไรที่ดี ที่จะให้หรือแสดงแก่เขา
เราเอาภาษาอื่นนั้นมาเป็นเครื่องมือรับใช้เรา ในการถ่ายทอดความรู้ความคิดที่ดีๆ หรือมีเหตุผลสมควรในกรณีนั้นที่จะพูด เพื่อประโยชน์บางอย่าง หรือมองในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีอย่างหนึ่ง ที่จะใช้ไปตามเหตุตามผล
การกระทำอย่างนี้ จึงจะทำให้ไม่เป็นการทำตามเขาด้วยความหลงงมงายโง่เขลา หรืออวดความด้อยเพราะไม่มีอะไรของตัวที่จะภูมิใจ อันนี้เป็นข้อหนึ่งที่ต้องเตือนใจตัวเองไว้
ถ้าเราจะใช้ภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีเหตุผลในทางสติปัญญาว่าเรามีอะไรที่จะเสนอ ที่จะให้แก่ผู้อื่น ที่เขาจะต้องรับฟัง ไม่ใช่มาฟังแต่ภาษาสำเนียง แต่เนื้อหาที่พูดต่างหากที่สำคัญ
No Comments
Comments are closed.