- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
พระพรหมคุณาภรณ์
การแข่งขันเป็นสิ่งที่ถูกในทางหนึ่ง คือ ในทางที่จะทำให้ผู้บริโภคพอใจมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มันคือการกระตุ้นให้มีความไม่ประมาท ศัพท์ในทางพระพุทธศาสนา คือ อัปปมาทะ หมายถึง ไม่ปล่อยปละละเลย มีความตั้งใจ มีความกระตือรือร้น ระมัดระวัง หรือ ความขยันขันแข็ง
การเป็นอยู่ที่ดีสำหรับคนในโลก คือ การพยายามให้พวกเขาตระหนักในเรื่องความไม่ประมาท แต่คนส่วนมากไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าไม่มีสถานการณ์อะไรมาบีบบังคับ ก็มักจะเกิดความประมาท ทางหนึ่งที่ปลุกเร้าสิ่งนี้ได้คือ การแข่งขัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันใช้การแข่งขันเป็นเครื่องปลุกเร้า หรือสิ่งบังคับควบคุมให้มีความไม่ประมาท ให้มีความขยัน พวกเขาต้องการไปข้างหน้าเหนือกว่าคนอื่น และเขาต้องพยายามอย่างมาก พยายามให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับคนที่มีชีวิตอยู่ในทางโลก เราไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีสิ่งนี้ เราต้องเข้าใจความจริงข้อนี้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ เราไม่ควรหยุดอยู่เพียงแค่นี้ การแข่งขันในที่นี้ ดี แต่ก็สามารถสร้างปัญหาได้หลายอย่างเช่นกัน ปัญหาต่างๆ ในโลกนี้ ส่วนใหญ่มาจากการแข่งขัน นี่เองคือความจำเป็นต้องพัฒนาคน เพื่อเขาจะได้มีความระมัดระวัง มีความไม่ประมาท มีความขยัน ด้วยการใช้สติและปัญญาของตน โดยไม่ต้องรอให้ถูกบังคับหรือบีบคั้น
สติ หมายถึง ความตื่นตัว ทันกับสิ่งนั้น เรื่องนั้น
ปัญญา หมายถึง ความรู้แจ้งตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ถ้าเขามีทั้งสติและปัญญา เขาจะรู้เข้าใจว่า อะไรผิดอะไรถูก อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อะไรจะนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข อะไรจะนำไปสู่ความเสียหาย จากความรู้เหล่านี้ และการมีสติ เขาก็จะพยายามทำในสิ่งที่ดี คุณสมบัติเหล่านี้ คือสิ่งที่เราอยากให้พวกเขาเป็น ไม่ใช่ดิ้นรนพยายามโดยการถูกบังคับ
นายมิวเซนเบิร์ก
การเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิต เป็นสิ่งที่ท่านเน้นทั้งจากที่ท่านพูดมาแล้ว และเขียนไว้ในหนังสือของท่าน ในวิธีคิดของทางพระพุทธศาสนา ถ้าบุคคลมีจิตใจที่ปราศจากกิเลสก็จะเป็นอิสระ ปราศจากความยึดมั่น แต่คนอย่างนั้นมีน้อยเหลือเกิน คำถามคือ เราจะทำอย่างไรกับคนธรรมดาทั่วไป
No Comments
Comments are closed.