- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
พระพรหมคุณาภรณ์
มันขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล อย่างที่คุณคงรู้ คัมภีร์ในทางเถรวาท และคัมภีร์ในทางมหายาน รวมถึงวัชรยาน มีความแตกต่างกัน พระพุทธศาสนาสายเถรวาทถือตามพระไตรปิฎกบาลี พระพุทธศาสนาสายมหายาน และวัชรยาน ถือคัมภีร์ของจีนและธิเบต คัมภีร์พระไตรปิฎกของจีนและธิเบตได้ถูกแบ่งออกเป็นภาค ภาคเก่าเรียกว่า อาคมะ อันนี้เกือบเหมือนพระไตรปิฎกบาลี แต่บางส่วนหายไป ต่อมามีภาคใหม่ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยเหล่าอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ มหายาน และวัชรยาน จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อาจารยวาท (เรียกอย่างบาลีว่า อาจริยวาท) แปลว่า คำสอนของอาจารย์ เพราะภาคใหม่นี้สอนโดยอาจารย์รุ่นหลัง พวกเขาสร้างพระสูตรขึ้นมาใหม่ เช่น ลังกาวตารสูตร วัชรัจเฉทิกสูตร มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ฯลฯ พวกนี้เป็นพระสูตรรุ่นหลัง ซึ่งไม่พบในสายเถรวาท
ในทำนองเดียวกัน คำสอนหลายอย่างในทางเถรวาท ก็จะไม่พบในพระไตรปิฎกของจีนและธิเบต อาจเป็นไปได้ว่า เป็นเพราะเกิดการสูญหาย
อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าในมหายาน ได้ถูกเก็บรักษาไว้ด้วยภาษาสันสกฤต เมื่อคัมภีร์หรือพระไตรปิฎกถูกนำไปสู่ประเทศจีนและธิเบต ก็ถูกแปลเป็นภาษาจีนและภาษาธิเบต ส่วนต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤตหายไป พวกเขาเก็บคัมภีร์ต้นฉบับไว้ในเจดีย์ หรือในสถูป ครั้นกาลเวลาผ่านไปนานๆ คัมภีร์เหล่านั้นได้สูญหายไปบ้าง หลงเหลืออยู่ไม่มาก บางทีเราก็จะได้ยินข่าวว่า ได้มีการค้นพบคัมภีร์โบราณที่สูญหายไป แต่คัมภีร์ที่เหลือซึ่งใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เหลือต้นฉบับเดิมไว้ให้ตรวจทาน นี่คือสาเหตุว่า บางสิ่งที่ถูกแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ ก็จึงเสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อน ความผิดพลาด และการตีความผิด เป็นต้น
นายมิวเซนเบิร์ก
ผมได้เรียนรู้มาว่า ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากธิเบต ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ แต่ประเทศธิเบตเป็นประเทศที่ยากจน ในพระพุทธศาสนาสายธิเบตนั้น ยากที่จะพบในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับการครองเรือน ทรัพย์สิน ผมรู้สึกประหลาดใจว่า เขารักษาสิ่งอื่น และไม่สนใจในเรื่องเหล่านี้
No Comments
Comments are closed.