- (กล่าวนำ)
- เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์
- หากยังมีความขัดแย้งก็ยากที่จะถึงเป้าหมาย
- อะไรคือความอยู่เย็นเป็นสุขของมนุษยชาติ?
- ความสุข ๒ แบบในพระพุทธศาสนา
- โลกแห่งการบริโภค คนมีสุขยาก ทุกข์ง่าย
- มนุษย์มีความแตกต่างกันหลายระดับ
- ศีล ๕ : หลักการพื้นฐานของสังคม – ศีล ๘ : ศีลเพื่อการพัฒนาสู่อิสรภาพ
- บุคคล ๓ กลุ่ม
- ประเทศผู้ผลิตกับประเทศผู้บริโภค
- การศึกษาควรสอนให้มนุษย์ พัฒนาความสามารถในการมีความสุข
- ดุลยภาพของอิสรภาพทั้ง ๔
- ต้องพัฒนา Intellectual Freedom ให้เกิดมีขึ้นในผู้บริโภค
- ผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต
- ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้า หรือไม่ใช้บริการ
- ความสำเร็จที่แท้จริงของนักธุรกิจ
- ลัทธิบริโภคนิยมมาจากตัณหาของมนุษย์
- Meditation in Form/Meditation in Substance
- ค่านิยมกำหนดสังคม
- การแข่งขันในทางที่ถูก
- การแข่งขันกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท
- กิจกรรม ๓ ประการ ที่เศรษฐศาสตร์ควรให้ความสนใจ
- Freedom Through Wisdom ความสำเร็จสูงสุดของมนุษย์
- พัฒนาฉันทะ ลดละตัณหา
- ความปรารถนาที่ดีงามคือฉันทะ
- แหล่งข้อมูลคำสอนในพระพุทธศาสนา
- ทำไมเถรวาทมีคำสอนเรื่องการครองเรือน มากกว่าสายอื่น
- เหตุ และ ปัจจัย ในพระพุทธศาสนา
- ปัจจัยหนึ่งอาจนำไปสู่ผลหลายอย่าง
- การแยกแยะปัจจัยหรือยักย้ายเงื่อนไข
- กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
- ศรัทธาและปัญญาไม่ใช่คู่แข่งขัน
- ปฏิจจสมุปบาทแบบง่าย
- กุศลและอกุศลจากผัสสะ
- กระบวนการปฏิจจสมุปบาทเกิดตลอดเวลา
- พระพุทธเจ้าทรงอธิบายปฏิจจสมุปบาท ตามสติปัญญาของผู้ฟัง
- แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
- ภาคผนวก
- บันทึกผู้แปล
- คำนำในการพิมพ์ ครั้งที่ ๓
คำนำในการพิมพ์
ครั้งที่ ๓
หนังสือ พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ ฉบับภาษาไทย ที่ท่านกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้ เคยตีพิมพ์มาก่อนหน้านี้สองครั้ง จำนวนประมาณ ๔๐,๐๐๐ เล่ม โดยผู้สนใจใฝ่ธรรมรวมทุนกันจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกเป็นธรรมทาน และหนังสือก็หมดอย่างรวดเร็ว
เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่า เมื่อหนังสือเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะ ได้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งติดต่อมายังสำนักพิมพ์เพื่อขอหนังสือเล่มนี้ไปเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับนักศึกษา บางแห่งเป็นหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
นอกจากนี้ยังมีผู้ใหญ่ในแวดวงการศึกษาท่านหนึ่งได้ติดต่อขอพิมพ์หนังสือนี้ไปแจกเนื่องในวาระเกษียณอายุราชการ อีกทั้งมีผู้สนใจขออนุญาตพิมพ์เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานศพ มีแพทย์บางท่านขอร่วมพิมพ์ไปแจกในคลินิกสำหรับให้คนไข้อ่านระหว่างรอรับการรักษา และมีห้องสมุดจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งติดต่อขอหนังสือนี้ไปไว้ประจำห้องสมุด เพื่อเป็นหนังสือประจำหมวดศาสนาและปรัชญา
อนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หนึ่งในเจ้าภาพจัดงานประชุมวิสาขบูชาโลกที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยท่านคณบดีคณะพุทธศาสตร์ได้ ติดต่อทางวัดญาณเวศกวันขอต้นฉบับนี้ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อพิมพ์แจกแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งคาดว่าจะมีประมาณ ๕,๐๐๐ คนจากทั่วโลก แต่ปรากฏว่าไม่สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ทันแจกในงานดังกล่าว
จนกระทั่งในปีต่อมา คุณโสมย์วสี น้ำทิพย์ อดีตสัทธิวิหาริก ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ได้มีจิตศรัทธาแปลงานชิ้นนี้ เป็นภาษาอังกฤษ โดยมี Mr. Robin Moore ซึ่งเคยบวชเป็นพระสายวัดหนองป่าพงเป็นผู้ตรวจชำระ และท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ได้เมตตาอ่านต้นฉบับแปลสุดท้าย และให้คำแนะนำบางประการเพื่อให้สำนวนแปลนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์ตามที่ท่านซึ่งเป็นต้นเรื่องของหนังสือนี้เห็นสมควร
ในที่สุดต้นฉบับแปลจึงได้เสร็จสมบูรณ์และนำไปพิมพ์แจกในงานประชุมวิสาขบูชาโลก ซึ่งจัดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ช่วงสัปดาห์วิสาขบูชา เดือนพฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ หนังสือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Buddhism and the Business World: The Buddhist Way to Deal with Business
ปรากฏว่าเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้เข้าร่วมประชุม และหมดทันทีที่แจกออกไป ไม่มีเหลือพอที่จะส่งมาถวายวัดญาณเวศกวันแม้แต่เล่มเดียว ต้องมีการสั่งพิมพ์เพิ่มเพื่อการถวายวัดโดยเฉพาะอีกจำนวนหนึ่ง
สรุปว่าบัดนี้หนังสือเล่มนี้มี ๒ ภาษา คือ ไทยและอังกฤษ
จากความเป็นมาดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างเด่นชัดว่า หนังสือเล่มนี้ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านมากจนเกินความคาดหมาย
ด้วยเหตุนี้ เมื่อทางสำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะสนใจจะพิมพ์หนังสือเล่มนี้เพื่อการจำหน่าย จึงเป็นเรื่องน่าอนุโมทนาและน่าส่งเสริม เพราะจะช่วยให้หนังสือกระจายตัวได้มากกว่าการแจกเพียงอย่างเดียว
ในกรณีพิมพ์จำหน่าย ท่านเจ้าคุณได้อนุญาตแก่ผู้แปลทั้งสองสำนวน คือทั้งสำนวนไทยและสำนวนอังกฤษ ให้มีสิทธิ์เต็มที่ในต้นฉบับแปลของตน สิ่งที่ต้องกระทำมีเพียงทำหนังสือแจ้งแก่ทางวัดญาณเวศกวันเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีความประสงค์จะดำเนินการกับต้นฉบับแปลนั้นอย่างไร เพื่อเป็นหลักฐานที่ถูกต้องชัดเจนของทางวัดต่อไป
สุดท้ายนี้ขอย้ำว่า หากท่านผู้อ่านให้ความสนใจ ตั้งใจอ่านเนื้อหาทั้งหมด แล้วค่อยๆ พิจารณาตามไปทุกขั้นตอน เชื่อแน่ว่า ท่านจะได้รับสารประโยชน์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างแน่นอน และสำหรับนักธุรกิจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ หนังสือเล่มนี้อาจเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการทำธุรกิจให้กลายเป็นธุรกิจที่เกื้อกูลต่อประโยชน์สุขของมหาชน อำนวยความอยู่เย็นเป็นสุขให้แก่สังคมส่วนรวม ตั้งแต่สังคมเล็กๆ อย่างในท้องถิ่น กว้างออกไปในระดับประเทศ ขยายออกไปสู่สังคมโลกอย่างทั่วถึงกัน และเมื่อไปถึงระดับนั้น คำว่า สันติภาพและสันติสุขคงไม่ไกลเกินหวังอีกต่อไป
ด้วยความปรารถนาดี
พนิตา อังจันทรเพ็ญ
No Comments
Comments are closed.