- วันครู
- งานของครู-งานของพระพุทธเจ้า
- หลักการศึกษา
- หลักการสอน
- ไตรสิกขา เดินหน้าไปกับชีวิตทั้งสามด้าน
- สอนเด็กให้ได้ครบไตรสิกขา
- สิกขาข้อศีลมี ๒ ด้าน
- กินอย่างไรให้เป็นไตรสิกขา
- เอาปัญญากับจิตใจมาช่วยในการฝึกศีล
- พอกินอยู่เป็น…ก็คิดเป็นเอง
- วินัย คือ จัดตั้งวิถีชีวิตแห่งไตรสิกขา
- ถ้ามองเห็นความสำคัญของความเคยชิน ก็รู้ความสำคัญของวินัย
- วินัยเป็นรูปแบบ ต้องรักษาสาระไว้ และสื่อสาระได้
- รู้จักศีลครบ ๔ หมวด จึงจะเข้าใจคำว่า “ศีล”
- ทำไม ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ท่านเริ่มต้นโดยเอาศีล เป็นที่บูรณาการไตรสิกขา
- ได้แค่ศีล เพียงขั้นกินอยู่ดูฟังเป็นเท่านั้น เด็กไทย สังคมไทย มีหรือจะไม่พัฒนา
- อาชีวะเป็นแดนใหญ่ ทั้งโดยกิจกรรม และโดยกาลเวลา ในการที่จะเอาไตรสิกขามาพัฒนาชีวิตคน
- ถ้ามีวินัยชาวพุทธ ก็มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการศึกษา
- การศึกษา ออกผลมาเป็นชีวิตที่เป็นอยู่อย่างดี มีวิถีชีวิตดีงามที่พัฒนาไปในมรรค จนเป็นภาวิต ๔
- มอง Child-Centered Education อย่างไร จึงจะเอามาใช้หรือไม่ใช้ อย่างเท่าทัน
- ของที่นำเข้า ต้องรู้ให้เต็มเท่าที่เขาเข้าใจ ของเขาพร่องตรงไหน ก็ต้องรู้และเติมให้เต็มจริงๆ ได้
ถ้ามีวินัยชาวพุทธ ก็มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการศึกษา
ศีล ๔ แดนนี้น่าจะเอามาย้ำกันในหมู่ชาวพุทธ ไม่ใช่อยู่แค่ศีล ๕ ต้องรู้ว่าศีล ๕ นี้ แม้จะสำคัญยิ่งนัก แต่มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “วินัยชาวพุทธ” ซึ่งมันเป็นเพียงพื้นฐานส่วนเริ่มต้นเท่านั้น เพียงแค่ว่าเป็นเกณฑ์อย่างต่ำที่ให้มนุษย์อยู่กันได้ในสังคมนี้ ทำให้สังคมนี้ไม่ถึงกับลุกเป็นไฟ แต่ถ้าคุณจะพัฒนาต่อไป จะมีชีวิตดีงาม มีความสุขแล้ว คุณจะอยู่แค่ศีล ๕ น่ะไม่พอหรอก ท่านจึงให้ศีล ๕ นั้นเป็นฐานรักษาสังคม หรือเป็นหลักประกันพื้นฐาน อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าไม่ให้สังคมลุกเป็นไฟ ให้คนพออยู่กันได้
จะเป็นชาวพุทธจริง และจะให้ชีวิตและสังคมพัฒนา ก็ต้องเข้าสู่วินัยชาวพุทธกันจริงๆ อย่างที่บอกแล้วว่าคฤหัสถ์ก็มีวินัย ไม่ใช่พระเท่านั้นที่มีวินัย ตอนนี้คิดว่าต้องพื้นฟูวินัยชาวพุทธ ที่ภาษาคัมภีร์ท่านเรียกว่า “คิหิวินัย” แปลว่าวินัยของคฤหัสถ์ ได้แก่ สิงคาลกสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่สิงคาลกมาณพ
ตอนนี้ได้เอามาทำเป็นหนังสือเล็กๆ เล่มหนึ่งเลย ถ้าเป็นพระสูตรโดยตรง เวลาไปอ่านบางทีบางคนก็จับยาก เพราะท่านว่าไปเรื่อยๆ ถ้าไม่จับมาตั้งเป็นหัวข้อจัดรูปแบบก็ดูยาก ก็เลยนำมาจัดเรียงตั้งหัวข้อ ลำดับจัดหมวดหมู่ให้เห็นชัดๆ ไป เรียกว่า วินัยชาวพุทธ
เมื่อได้พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว ก็เลยจะไม่อธิบาย ขอพูดสั้นๆ ว่า…ถ้าชาวพุทธเรามีวินัยแบบนี้ ก็จะเป็นวิถีชีวิตที่เอื้อให้การศึกษาเดินหน้าไปได้ ถ้าเราไม่มีวิถีชีวิตที่เอื้อแล้วการศึกษาก็เข้ามายาก
No Comments
Comments are closed.