- วันครู
- งานของครู-งานของพระพุทธเจ้า
- หลักการศึกษา
- หลักการสอน
- ไตรสิกขา เดินหน้าไปกับชีวิตทั้งสามด้าน
- สอนเด็กให้ได้ครบไตรสิกขา
- สิกขาข้อศีลมี ๒ ด้าน
- กินอย่างไรให้เป็นไตรสิกขา
- เอาปัญญากับจิตใจมาช่วยในการฝึกศีล
- พอกินอยู่เป็น…ก็คิดเป็นเอง
- วินัย คือ จัดตั้งวิถีชีวิตแห่งไตรสิกขา
- ถ้ามองเห็นความสำคัญของความเคยชิน ก็รู้ความสำคัญของวินัย
- วินัยเป็นรูปแบบ ต้องรักษาสาระไว้ และสื่อสาระได้
- รู้จักศีลครบ ๔ หมวด จึงจะเข้าใจคำว่า “ศีล”
- ทำไม ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ท่านเริ่มต้นโดยเอาศีล เป็นที่บูรณาการไตรสิกขา
- ได้แค่ศีล เพียงขั้นกินอยู่ดูฟังเป็นเท่านั้น เด็กไทย สังคมไทย มีหรือจะไม่พัฒนา
- อาชีวะเป็นแดนใหญ่ ทั้งโดยกิจกรรม และโดยกาลเวลา ในการที่จะเอาไตรสิกขามาพัฒนาชีวิตคน
- ถ้ามีวินัยชาวพุทธ ก็มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการศึกษา
- การศึกษา ออกผลมาเป็นชีวิตที่เป็นอยู่อย่างดี มีวิถีชีวิตดีงามที่พัฒนาไปในมรรค จนเป็นภาวิต ๔
- มอง Child-Centered Education อย่างไร จึงจะเอามาใช้หรือไม่ใช้ อย่างเท่าทัน
- ของที่นำเข้า ต้องรู้ให้เต็มเท่าที่เขาเข้าใจ ของเขาพร่องตรงไหน ก็ต้องรู้และเติมให้เต็มจริงๆ ได้
วินัย คือ จัดตั้งวิถีชีวิตแห่งไตรสิกขา
ในหลักการฝึกที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เมื่อพูดถึงวินัย เรามักไปนึกถึงแต่ศีลของพระ แล้วเราก็ไม่ได้เอาไปใช้ในวิถีชีวิตของญาติโยม ก็เลยเสียประโยชน์ที่ควรจะได้ สำหรับพระนี่มีดีอย่างหนึ่ง คือมีวินัยชัดเจน
วินัยนี้เป็นเครื่องมือที่จะสร้างวิถีชีวิต และเป็นตัวกำกับช่วยให้เรานำเอา “ระบบไตรสิกขา” มาใช้ได้ พูดง่ายๆ วินัยเป็นการจัดตั้งของมนุษย์ เพื่อให้เป้าหมายทางธรรมชาติเกิดผลขึ้นมา
เรารู้ความจริงแล้วว่า ธรรมดาเป็นอย่างนี้ เราต้องการจะมีชีวิตที่ดีงาม ธรรมชาติหรือธรรมดามันเรียกร้องให้เราทำอย่างนี้ เอ! ที่ว่าต้องทำอย่างนี้พูดสั้นๆ ว่าต้องไตรสิกขา แล้วจะมีวิธีอย่างไรให้คนทำอย่างนั้นหรือมีชีวิตอย่างนั้นล่ะ เราก็จัดตั้งวิถีชีวิตแบบนั้นขึ้นมา เรียกว่า “วินัย”
วินัย คือ การจัดสรร หรือจัดตั้งระบบวิถีชีวิต ที่จะทำให้คนต้องดำเนินชีวิต และทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ในแนวทางที่เราต้องการ ให้เป็นไปตาม “หลักไตรสิกขา” เพราะฉะนั้น วินัยจึงมาเป็นตัวสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับศีล คือจัดตั้งให้เกิดเป็นศีลหรือจัดตั้งวิถีชีวิตที่จะให้มีสิกขาขั้นศีล เพราะศีลเป็นเรื่องของพฤติกรรม ซึ่งแสดงออกทางกาย และวาจา ชัดเจนออกมา การจัดตั้งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอยู่ในสังคม ก็ออกมาในรูปของศีล
ที่จริงวินัยไม่ใช่แค่ฝึกศีลหรอก ก็จัดตั้งให้เกิดโอกาสที่จะฝึกไตรสิกขาทั้งหมดนั่นแหละ แต่มันปรากฏชัดที่ศีล พอฝึกตามวินัย มีชีวิตตามวินัย ตามรูปแบบที่วางไว้นี้ มันก็เกิดเป็นศีลขึ้นมา คือเป็นการดำเนินชีวิตด้านพฤติกรรม ทางกาย และวาจา เป็นต้น ที่เป็นปกติอย่างนั้น ศีลก็คือพฤติกรรมดีงามที่เป็นปกติอย่างนั้นแล้ว อยู่ตัวแล้ว หรือจะเรียกเป็นความเคยชินเลยก็ได้ แต่หมายถึงความเคยชินในทางที่ดี
No Comments
Comments are closed.