- ภาค ๑ – ทำไมคนไทยจึงเรียนพระพุทธศาสนา?
- จริยศึกษาเพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา
- ความเสื่อมโทรมของสังคมและชีวิตจิตใจ ที่เป็นปัญหายิ่งใหญ่ของอเมริกาในปัจจุบัน
- สัญญาณอันตราย บอกให้ยกเครื่องการศึกษากันใหม่
- ระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย
- ชาวพุทธควรมีสิทธิเรียนจริยศึกษาแบบพุทธ
- สังคมไทยได้เปรียบสังคมอเมริกัน ในการจัดจริยศึกษาที่มีเอกภาพ
- สังคมไทยไม่มีเหตุผลที่จะไม่สอนจริยศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา
- เรียนพระพุทธศาสนา เพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาเพื่อสร้างชนชั้นนำ สำหรับมาพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมไทย
- สัญญาณเตือนภัยให้เร่งรัดส่งเสริมพุทธจริยศึกษา
- บูรณาการที่หล่นหายไปจากจริยศึกษาของไทย บนเส้นทางของจริยธรรมสากล
- จริยธรรมสากล เข้าหรือขัดกับบูรณาการ
- บูรณาการการสอนและบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมแล้ว อย่าลืมบูรณาการนักเรียนและบูรณาการโรงเรียนด้วย
- จากคติแห่งศาสนศึกษาในอังกฤษ สู่ความคิดหาทางสายกลางของการจัดจริยศึกษา
- บทเรียนจากอเมริกา วิชาศาสนาและจริยศึกษาที่เรรวน
- จะยัดเยียด หรือจะปล่อยตามใจ ก็ไม่ใช่ทางสายกลาง
- รู้จักคิด รู้จักจำ ไม่ทำให้ยัดเยียด
- จะหลบการยัดเยียด แต่กลายเป็นปิดกั้นปัญญา/ประชาธิปไตย จะห้ามนักปราชญ์ เพื่อให้โอกาสแก่โจร
- ถ้าเรียน และสอนไม่ถูกต้อง วิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นวิชาที่ยัดเยียด
- เรื่องสามัญของตนเองที่ควรจะต้องรู้ สิ่งดีที่ตนมีพิเศษ ที่จะให้และจะนำคนอื่นได้
- หลักการที่ควรตรวจสอบและปฏิบัติการที่ควรทบทวน
- วงการพระพุทธศาสนา ก็ต้องสำรวจพิจารณาและปรับปรุงตนเอง
- บทสรุปและข้อเสนอแนะ
- บันทึกของผู้เขียน
- ภาค ๒ – จริยธรรมสากล จากความเป็นกลาง สู่ความเป็นจริง
- ตื่นตัวใหม่ เมื่อเจอภัยแห่งความเสื่อม
- จริยธรรมสากล ทางตันของการแก้ปัญหาในยุคนิยมวิทยาศาสตร์
- จริยธรรมสากล อยู่ที่ความเป็นกลาง หรืออยู่ที่ความเป็นจริง
- ขอบเขตอันคับแคบ ที่จำกัดความคิดเกี่ยวกับจริยธรรม
- ก้าวสำคัญบนเส้นทางแห่งการแสวงหาจริยธรรมสากลในอเมริกา
- ก้าวใหม่ที่ไปไม่พ้นร่องเก่า
- ขยายเขตแดนแห่งความคิด จากสากลที่เป็นกลาง สู่สากลที่เป็นจริง
- บัญญัติธรรมเพื่อจริยธรรม จริยธรรมบนฐานแห่งสัจธรรม
- จริยธรรมแห่งความเป็นจริง ในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- ระบบเงื่อนไขของมนุษย์: ตัวแทรกแซงที่ถูกลืม ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย
- การแทรกแซงที่ไม่กลมกลืน ปัจจยาการแห่งปัญหาของชีวิตและสังคม
- จริยธรรมประสานสนิทกับสัจธรรม คือ สันติสุขที่สัมฤทธิ์แก่ชีวิตและสังคม
- ถ้าจับเหตุปัจจัยในกระบวนการพัฒนาผิดพลาด การศึกษาอาจเป็นเครื่องมือก่อความพินาศ
- ถ้าจะมองเขา ก็ควรสืบสาวให้ถึงเหง้าถึงราก
- ถ้าจะตามเขา ก็ควรตามอย่างรู้เท่าทัน
- การพัฒนาจริยธรรม เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์กันทั้งระบบเป็นองค์รวม
- ความเป็นสากลที่แท้ อยู่ที่ความเป็นจริง และความเป็นจริง คือความเป็นสากลที่แท้จริง
จริยศึกษาเพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา
๑. จริยธรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตและสังคมที่จะดำรงอยู่อย่างมีสันติสุข และจริยศึกษาก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตและสังคมที่จะดำรงอยู่อย่างมีจริยธรรม ข้อนี้เป็นหลักความจริงที่รู้กันอยู่เป็นปกติธรรมดาอยู่แล้ว
โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ ได้มีเสียงร่ำร้องแสดงความห่วงกังวลกันมากว่า สังคมมีสภาพเสื่อมโทรมทางจิตใจ ผู้คนห่างเหินจากศีลธรรม จำเป็นจะต้องเร่งรัดการสร้างเสริมจริยธรรมและการพัฒนาทางด้านจิตใจ จริยศึกษาควรจะได้รับการเน้นหนักเป็นพิเศษ
ยิ่งกว่านั้น สภาพความเจริญที่รออยู่ข้างหน้า ในวิถีทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ยิ่งทำให้มีความต้องการจริยธรรม และต้องเร่งรัดจริยศึกษาชนิดที่เตรียมรับมือไว้ให้พร้อมมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากสัญญาณภัยในสังคมไทยของเราเอง ที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว สภาพความเจริญแบบรุงรังด้วยปัญหา ในประเทศที่นำหน้าซึ่งเรียกกันว่ามีการพัฒนาแล้วในระดับสูงสุด ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน ดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาเวลานี้ ซึ่งกำลังประสบปัญหาความเสื่อมโทรมทางจิตใจ และขาดแคลนศีลธรรมอย่างหนักหน่วง จนมีเสียงร่ำร้องกันทั่วไปในสังคมอเมริกัน เมื่อพูดถึง สภาพสังคมและการศึกษาในประเทศของตนว่า . . . จริยธรรมในอเมริกาดูเหมือนว่าจะเสื่อมถอยลงถึงจุดตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์1 ในปัจจุบันสังคม (อเมริกัน) ตั้งความคาดหวังจากโรงเรียนให้อบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนมากยิ่งกว่ายุคสมัยใดในกาลก่อน2 ในแผ่นดิน(อเมริกา)นี้ กำลังมีภาวะหิวศีลธรรม3
ถ้าเรายังปรารถนาความเจริญ ในวิถีทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม เราก็ควรจะเข้าถึงความเจริญนั้นในสภาพที่ดีกว่า และมีปัญหาน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาไปก่อน ด้วยการจัดการศึกษา โดยเฉพาะจริยศึกษาที่ป้องกันปัญหาและพัฒนาคนได้ตรงจุดตรงเป้า จึงจะนับได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ฉลาดรู้จักใช้บทเรียนของคนข้างหน้าให้เป็นประโยชน์ มิใช่เป็นเพียงผู้เดินทื่อ หรือเดินเซ่อ ได้แต่ตามเขาเซื่องๆ
การที่เราเดินตามซ้ำรอยประเทศพัฒนาแล้ว แม้แต่ในเรื่องที่เขาได้ผิดพลาดไปแล้ว ไม่สามารถเข้าถึงความเจริญอย่างเขาในภาวะที่ดีกว่าเขา (หรืออาจจะถึงในภาวะที่โทรมยิ่งกว่าเขา) สาเหตุสำคัญก็เพราะการไม่รู้จักเก็บรวบรวม ศึกษาและเลือกใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งหลาย เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ความเจริญของเขาอย่างเพียงพอ ขาดสติที่จะทำให้มองรอบด้านด้วยความรู้เท่าทัน หลงชื่นชมมองความเจริญเพียงด้านเดียว จนทำให้สูญเสียอิสรภาพทางปัญญา ได้แต่คอยพึ่งพา ไม่เป็นตัวของตัวเอง
เชิงอรรถ
- . . . , for ethics in America seem to have dropped to one of the lowest points in history. . . . idealism is in decline and cynicism on the rise . . . “We’re in a time when private interest is the solution to all problems and the sense of public purpose has faded away,” . . . the current ethics crisis–“selfishness as an absolute moral principle” . . . “We are living in a society of confused values, where people have lost a sense of confidence about right and wrong,” Church adds. “When materialistic values become dominant, our heroes become superstars who value notoriety regardless of how they get it. . . . What’s happening is a rush for riches. . . . people are “committing these infractions more obviously, and without shame. In times past, getting caught in a moral misdeed was an embarrassment. But now, because of the uncertainty about what is right and wrong and such influences as morning TV, . . . the scarlet letter doesn’t have the scar it used to. . . .” greed has become accepted as a totally legitimate force, . .. (Bernice Kanner, “What Price Ethics? The Morality of the Eighties,” New York, July 14, 1986, p. 28).
- Today, more than ever before–perhaps because of rising rates of juvenile crime and teenage pregnancy, drug use and suicide — society expects schools to instruct the young in moral and civic ideals. (Jacques S. Benninga, “An Emerging Synthesis in Moral Education,” Phi Delta Kappan, February 1988, p. 415).
- ดู 26.
No Comments
Comments are closed.