คนไทยกับป่า

28 เมษายน 2536

…อารยธรรมตะวันตกมาจากรากฐานทางความคิด  ที่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติ  แล้วไม่ใช่มองมนุษย์แยกต่างห่างจากธรรมชาติเท่านั้น  ยังมองในลักษณะที่มนุษย์จะต้องเข้าไปครอบงำ ครอบครอง เป็นนายเหนือธรรมชาติ  เป็นผู้พิชิตธรรมชาติ…  จุดมุ่งหมายเพื่อจะได้ไปจัดสรรธรรมชาติ  จัดการปั้นแต่งมาเป็นสิ่งบริโภค เพื่อรับใช้สนองความต้องการของมนุษย์…

…เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเองแท้ๆ  เรื่องระบบของการพึ่งพาอาศัยกันนี้  ท่านย้ำมาก  แต่นอกจากการพึ่งพาอาศัยกันแล้ว  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้สึกที่ดีงามต่อกันระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์  และมนุษย์ต่อพืชและสัตว์ทั้งหลาย  ความรู้สึกที่ดีงามอย่างหนึ่ง ได้แก่คุณธรรมที่เรียกว่าความ “กตัญญู”

ความกตัญญูนี้ไม่ใช่มีเฉพาะต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น  แต่ท่านให้มีแม้ต่อสัตว์และพืชทั้งหลายด้วย… ในพระไตรปิฎก…  สอนให้รู้คุณแม้แต่ของพืช  มีใจความแปลเป็นไทยว่า

“บุคคลนั่งหรือนอนในร่มเงาของต้นไม้ใด  ไม่พึงหักรานกิ่งใบของต้นไม้นั้น  ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนทราม”

สารบัญ – คนไทยกับป่า

(กล่าวนำ)

ตอน ๑ : ไทยอดีตกับป่า
ตอน ๒ : ไทยปัจจุบันกับป่า
ตอน ๓ : ไทยอนาคตกับป่า

 

หมายเหตุ เนื้อหาที่แสดงอยู่บน Website แห่งนี้ นำมาจากฉบับพิมพ์รวมเล่ม หนังสือเรื่อง คนรักษ์ป่า ป่ารักษ์คน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เมื่อ มาฆบูชา ๒๕๕๔

No Comments

Comments are closed.