- ภาค ๑ – ทำไมคนไทยจึงเรียนพระพุทธศาสนา?
- จริยศึกษาเพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา
- ความเสื่อมโทรมของสังคมและชีวิตจิตใจ ที่เป็นปัญหายิ่งใหญ่ของอเมริกาในปัจจุบัน
- สัญญาณอันตราย บอกให้ยกเครื่องการศึกษากันใหม่
- ระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย
- ชาวพุทธควรมีสิทธิเรียนจริยศึกษาแบบพุทธ
- สังคมไทยได้เปรียบสังคมอเมริกัน ในการจัดจริยศึกษาที่มีเอกภาพ
- สังคมไทยไม่มีเหตุผลที่จะไม่สอนจริยศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา
- เรียนพระพุทธศาสนา เพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาเพื่อสร้างชนชั้นนำ สำหรับมาพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมไทย
- สัญญาณเตือนภัยให้เร่งรัดส่งเสริมพุทธจริยศึกษา
- บูรณาการที่หล่นหายไปจากจริยศึกษาของไทย บนเส้นทางของจริยธรรมสากล
- จริยธรรมสากล เข้าหรือขัดกับบูรณาการ
- บูรณาการการสอนและบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมแล้ว อย่าลืมบูรณาการนักเรียนและบูรณาการโรงเรียนด้วย
- จากคติแห่งศาสนศึกษาในอังกฤษ สู่ความคิดหาทางสายกลางของการจัดจริยศึกษา
- บทเรียนจากอเมริกา วิชาศาสนาและจริยศึกษาที่เรรวน
- จะยัดเยียด หรือจะปล่อยตามใจ ก็ไม่ใช่ทางสายกลาง
- รู้จักคิด รู้จักจำ ไม่ทำให้ยัดเยียด
- จะหลบการยัดเยียด แต่กลายเป็นปิดกั้นปัญญา/ประชาธิปไตย จะห้ามนักปราชญ์ เพื่อให้โอกาสแก่โจร
- ถ้าเรียน และสอนไม่ถูกต้อง วิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นวิชาที่ยัดเยียด
- เรื่องสามัญของตนเองที่ควรจะต้องรู้ สิ่งดีที่ตนมีพิเศษ ที่จะให้และจะนำคนอื่นได้
- หลักการที่ควรตรวจสอบและปฏิบัติการที่ควรทบทวน
- วงการพระพุทธศาสนา ก็ต้องสำรวจพิจารณาและปรับปรุงตนเอง
- บทสรุปและข้อเสนอแนะ
- บันทึกของผู้เขียน
- ภาค ๒ – จริยธรรมสากล จากความเป็นกลาง สู่ความเป็นจริง
- ตื่นตัวใหม่ เมื่อเจอภัยแห่งความเสื่อม
- จริยธรรมสากล ทางตันของการแก้ปัญหาในยุคนิยมวิทยาศาสตร์
- จริยธรรมสากล อยู่ที่ความเป็นกลาง หรืออยู่ที่ความเป็นจริง
- ขอบเขตอันคับแคบ ที่จำกัดความคิดเกี่ยวกับจริยธรรม
- ก้าวสำคัญบนเส้นทางแห่งการแสวงหาจริยธรรมสากลในอเมริกา
- ก้าวใหม่ที่ไปไม่พ้นร่องเก่า
- ขยายเขตแดนแห่งความคิด จากสากลที่เป็นกลาง สู่สากลที่เป็นจริง
- บัญญัติธรรมเพื่อจริยธรรม จริยธรรมบนฐานแห่งสัจธรรม
- จริยธรรมแห่งความเป็นจริง ในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- ระบบเงื่อนไขของมนุษย์: ตัวแทรกแซงที่ถูกลืม ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย
- การแทรกแซงที่ไม่กลมกลืน ปัจจยาการแห่งปัญหาของชีวิตและสังคม
- จริยธรรมประสานสนิทกับสัจธรรม คือ สันติสุขที่สัมฤทธิ์แก่ชีวิตและสังคม
- ถ้าจับเหตุปัจจัยในกระบวนการพัฒนาผิดพลาด การศึกษาอาจเป็นเครื่องมือก่อความพินาศ
- ถ้าจะมองเขา ก็ควรสืบสาวให้ถึงเหง้าถึงราก
- ถ้าจะตามเขา ก็ควรตามอย่างรู้เท่าทัน
- การพัฒนาจริยธรรม เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์กันทั้งระบบเป็นองค์รวม
- ความเป็นสากลที่แท้ อยู่ที่ความเป็นจริง และความเป็นจริง คือความเป็นสากลที่แท้จริง
ถ้าจับเหตุปัจจัยในกระบวนการพัฒนาผิดพลาด
การศึกษาอาจเป็นเครื่องมือก่อความพินาศ
ไม่ว่าจะทำอย่างไหนก็ตาม สองอย่างนี่แหละคือภารกิจของการศึกษา การศึกษามีหน้าที่พัฒนาคน และการพัฒนาคนในส่วนที่สำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นโครงสร้างของชีวิตและสังคมนั้น ก็คือ พัฒนาการในการทำงาน การศึกษาจะต้องช่วยให้บุคคลถ่ายเทโลภะของตนออกไปเป็นโลภะ โดยรู้จักทำโลภะให้เป็นปัจจัยแก่ฉันทะ หรือเปลี่ยนแปรจากโลภะไปเป็นฉันทะ แต่ถ้าผู้รับผิดชอบการศึกษายังหลงผิดอยู่ว่า ความโลภทรัพย์จะเป็นเหตุให้คนขยันทำงาน ความสับสนคลุมเครือทางปัญญานี้ ก็จะทำให้การศึกษากลายเป็นเครื่องมือพัฒนามิจฉาชีพ พร้อมทั้งนำชีวิตและสังคมไปสู่ปัญหาและความพินาศ
ในวัฒนธรรมตะวันตกยุคอดีต ตลอดระยะที่สร้างสรรค์รากฐานของความเจริญที่สืบทอดมาถึงยุคปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันว่า คนในสังคมตะวันตกนั้นได้สะสมคุณสมบัติสำคัญสำหรับการทำงาน คือความรักงาน นิสัยการทำงาน ความขยันอดทน และอดออมในการทำงานเป็นต้น ที่เรียกรวมๆ ว่า จริยธรรมในการทำงาน (work ethic) และอันนี้เองเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จในการสร้างสรรค์อารยธรรมของตะวันตก ถ้าพูดอย่างภาษากระบวนการก็คือ มีระบบวิธีที่ได้ผล ในการถ่ายเทหรือแปรโลภะมาเป็นฉันทะ
เพราะเหตุที่เป็นวัฒนธรรม จึงเป็นเหมือนสภาพของปลาที่อยู่ในน้ำ หรือนกที่อยู่ในอากาศ ซึ่งไม่รู้ตระหนักต่อน้ำและอากาศที่อยู่รอบตัวและตนเองอาศัยเป็นอยู่ ฉะนั้น ฝรั่งจำนวนมากก็ไม่รู้ตัวถึงเหตุปัจจัยในตัวเองที่มาในวัฒนธรรมของตน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของนิสัยการทำงานนี้ บางทีก็เลยมองข้ามหรือลืมนึกถึง แล้วบางครั้งหลายคนก็พูดออกมาว่า ความโลภทรัพย์/อยากได้เงินหรือสิ่งบำเรอความสุข เป็นเหตุให้คนขยันทำงาน คนที่ฟังฉาบฉวย เชื่อทื่อๆ ตามนั้น ไม่มองลึกลงไปให้เห็นปัจจัยตัวจริงที่อยู่ในตัวเขา และในวัฒนธรรมของเขา นำเอาหลักที่ผิวเผินนั้นเข้ามาใช้ในสังคมของตน แทนที่จะเป็นการสร้างความเจริญงอกงามก็เลยกลายเป็นสร้างปัญหาและความเสื่อม
ยิ่งในปัจจุบัน ฝรั่งกำลังเปลี่ยนจากวัฒนธรรมอุตสาหกรรมที่เป็นวัฒนธรรมแห่งการผลิต มาเป็นวัฒนธรรมบริโภค ความสับสนพร่ามัว และความไม่รู้จักตัวเองก็จะมีมากขึ้น ผู้ที่มองเยี่ยงอย่างความเจริญของตะวันตก จะต้องไม่หลงติดอยู่แค่กาบและกาก แต่จะต้องใช้โยนิโสมนสิการให้มากเพื่อเข้าให้ถึงเนื้อตัวแก่นแท้ แกนใน โดยเฉพาะเหตุปัจจัยที่เป็นรากฐานของเขา
คนที่มองตามความเจริญของฝรั่ง (และของชาติที่พัฒนาสูงแล้วทั้งหลาย) เมื่อจะทำการอย่างมีความรับผิดชอบ จะต้องศึกษาสืบค้นให้รู้เท่าทันเขา ต้องให้รู้ดีกว่าเขาในเรื่องของตัวเขาเอง บางอย่างที่เขาไม่รู้ตัว และต้องรู้เลยต่อไปถึงหนทางที่จะหลีกพ้นปัญหาที่ฝรั่งต้องประสบอยู่ในปัจจุบัน เพราะฝรั่งและประเทศที่พัฒนาอย่างสูงแล้วทั้งหลายในขณะนี้ มองในแง่หนึ่งก็คือ ตัวแบบของการสร้างปัญหาและความเสื่อมของมนุษยชาติในปัจจุบัน1
No Comments
Comments are closed.