- ภาค ๑ – ทำไมคนไทยจึงเรียนพระพุทธศาสนา?
- จริยศึกษาเพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา
- ความเสื่อมโทรมของสังคมและชีวิตจิตใจ ที่เป็นปัญหายิ่งใหญ่ของอเมริกาในปัจจุบัน
- สัญญาณอันตราย บอกให้ยกเครื่องการศึกษากันใหม่
- ระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย
- ชาวพุทธควรมีสิทธิเรียนจริยศึกษาแบบพุทธ
- สังคมไทยได้เปรียบสังคมอเมริกัน ในการจัดจริยศึกษาที่มีเอกภาพ
- สังคมไทยไม่มีเหตุผลที่จะไม่สอนจริยศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา
- เรียนพระพุทธศาสนา เพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาเพื่อสร้างชนชั้นนำ สำหรับมาพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมไทย
- สัญญาณเตือนภัยให้เร่งรัดส่งเสริมพุทธจริยศึกษา
- บูรณาการที่หล่นหายไปจากจริยศึกษาของไทย บนเส้นทางของจริยธรรมสากล
- จริยธรรมสากล เข้าหรือขัดกับบูรณาการ
- บูรณาการการสอนและบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมแล้ว อย่าลืมบูรณาการนักเรียนและบูรณาการโรงเรียนด้วย
- จากคติแห่งศาสนศึกษาในอังกฤษ สู่ความคิดหาทางสายกลางของการจัดจริยศึกษา
- บทเรียนจากอเมริกา วิชาศาสนาและจริยศึกษาที่เรรวน
- จะยัดเยียด หรือจะปล่อยตามใจ ก็ไม่ใช่ทางสายกลาง
- รู้จักคิด รู้จักจำ ไม่ทำให้ยัดเยียด
- จะหลบการยัดเยียด แต่กลายเป็นปิดกั้นปัญญา/ประชาธิปไตย จะห้ามนักปราชญ์ เพื่อให้โอกาสแก่โจร
- ถ้าเรียน และสอนไม่ถูกต้อง วิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นวิชาที่ยัดเยียด
- เรื่องสามัญของตนเองที่ควรจะต้องรู้ สิ่งดีที่ตนมีพิเศษ ที่จะให้และจะนำคนอื่นได้
- หลักการที่ควรตรวจสอบและปฏิบัติการที่ควรทบทวน
- วงการพระพุทธศาสนา ก็ต้องสำรวจพิจารณาและปรับปรุงตนเอง
- บทสรุปและข้อเสนอแนะ
- บันทึกของผู้เขียน
- ภาค ๒ – จริยธรรมสากล จากความเป็นกลาง สู่ความเป็นจริง
- ตื่นตัวใหม่ เมื่อเจอภัยแห่งความเสื่อม
- จริยธรรมสากล ทางตันของการแก้ปัญหาในยุคนิยมวิทยาศาสตร์
- จริยธรรมสากล อยู่ที่ความเป็นกลาง หรืออยู่ที่ความเป็นจริง
- ขอบเขตอันคับแคบ ที่จำกัดความคิดเกี่ยวกับจริยธรรม
- ก้าวสำคัญบนเส้นทางแห่งการแสวงหาจริยธรรมสากลในอเมริกา
- ก้าวใหม่ที่ไปไม่พ้นร่องเก่า
- ขยายเขตแดนแห่งความคิด จากสากลที่เป็นกลาง สู่สากลที่เป็นจริง
- บัญญัติธรรมเพื่อจริยธรรม จริยธรรมบนฐานแห่งสัจธรรม
- จริยธรรมแห่งความเป็นจริง ในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- ระบบเงื่อนไขของมนุษย์: ตัวแทรกแซงที่ถูกลืม ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย
- การแทรกแซงที่ไม่กลมกลืน ปัจจยาการแห่งปัญหาของชีวิตและสังคม
- จริยธรรมประสานสนิทกับสัจธรรม คือ สันติสุขที่สัมฤทธิ์แก่ชีวิตและสังคม
- ถ้าจับเหตุปัจจัยในกระบวนการพัฒนาผิดพลาด การศึกษาอาจเป็นเครื่องมือก่อความพินาศ
- ถ้าจะมองเขา ก็ควรสืบสาวให้ถึงเหง้าถึงราก
- ถ้าจะตามเขา ก็ควรตามอย่างรู้เท่าทัน
- การพัฒนาจริยธรรม เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์กันทั้งระบบเป็นองค์รวม
- ความเป็นสากลที่แท้ อยู่ที่ความเป็นจริง และความเป็นจริง คือความเป็นสากลที่แท้จริง
ระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย
๒. พระพุทธศาสนาเป็นแหล่งแห่งคำสอนและระบบจริยธรรมที่ซึมซ่านแผ่ไปทั่ว และหยั่งรากฝังลึกลงแล้วในพื้นฐานของสังคมไทย แม้ว่าปัจจุบันในระดับพื้นผิว จะมองเห็นว่าผู้คนห่างเหินจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีปัจจัยแปลกใหม่จากภายนอกเข้ามาปะปนส่งผลอยู่มาก แต่ระบบศีลธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ก็ยังสืบต่ออยู่อย่างแน่นหนา ในรากฐานทางวัฒนธรรมของไทย
การสอนจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา หรือการนำพระพุทธศาสนามาใช้ในการสอนจริยศึกษา เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกลมกลืนกับรากฐานทางวัฒนธรรม และพื้นเพทางจิตใจของคนไทย เป็นจริยธรรมที่กลมกลืนบนพื้นฐานที่ต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้พร้อมที่จะทำงานได้ง่ายฉับไวกว่าและเบาแรงกว่าการกระทำด้วยวิธีอย่างอื่น จึงไม่มีเหตุผลที่จะปฏิเสธการสอนพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ในทางจริยธรรม
ในทางตรงข้าม การนำระบบจริยธรรมอย่างอื่นเข้ามาใช้ในการศึกษาของชาติ นอกจากจะต้องหนักแรงเหนื่อยปัญญา ในการคิดหาหรือจัดตั้งระบบจริยธรรมนั้นขึ้นโดยใช่เหตุและโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังจะทำให้เกิดปัญหาสำคัญอย่างยิ่งตามมา คือ สภาพต่อไม่ติดกับพื้นฐานเดิม เนื่องจากความไม่สืบทอดต่อเนื่องในทางวัฒนธรรม ดังที่เป็นปัญหาเด่นทั่วไปในการพัฒนาสังคมไทยด้านต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งไม่ควรจะมาเพิ่มปัญหาอย่างนั้นขึ้นในด้านการพัฒนาจริยธรรมนี้อีก การกระทำเช่นนั้น จะนำไปสู่ความแปลกแยกขัดแย้งทางจริยธรรม ซึ่งนำไปสู่ความไม่สัมฤทธิ์ผลของการสอนจริยธรรมในที่สุด
หากเห็นว่า จริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนามีข้อเสียหาย ก่อผลร้ายแก่ชีวิตและสังคมไทย จึงไม่ควรนำพระพุทธศาสนามาใช้ในการสอนจริยธรรม และควรยกเลิกการสอนศีลธรรมตามหลักพุทธศาสนา ออกจากจริยศึกษาของชาติ ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนั้น ก็ควรยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาถกเถียงกัน ให้มองเห็นโทษหรือผลร้ายนั้นอย่างชัดเจน จากนั้นก็จะต้องกำหนดวิธีการ และวางมาตรการที่หนักแน่นจริงจัง ในการที่จะกวาดล้างระบบจริยธรรมของพระพุทธศาสนาออกจากรากฐานทางวัฒนธรรมไทย มิฉะนั้น การจัดสอนจริยธรรมอย่างใหม่ อาจจะกลายเป็นการงุบงิบกันทำ ในท่ามกลางสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม ที่ไม่สอดคล้องและไม่รู้ตระหนักที่จะร่วมมือได้ งานปลูกฝังจริยธรรมก็จะดำเนินไปอย่างพร่ามัวสับสน ซึ่งนอกจากจะไม่สำเร็จผลแล้ว ยังจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่ามีผลดี
No Comments
Comments are closed.