- ภาค ๑ – ทำไมคนไทยจึงเรียนพระพุทธศาสนา?
- จริยศึกษาเพื่อรับมือกับปัญหาของยุคพัฒนา
- ความเสื่อมโทรมของสังคมและชีวิตจิตใจ ที่เป็นปัญหายิ่งใหญ่ของอเมริกาในปัจจุบัน
- สัญญาณอันตราย บอกให้ยกเครื่องการศึกษากันใหม่
- ระบบจริยธรรมที่ต่อติดกับพื้นฐานเดิมของสังคมไทย
- ชาวพุทธควรมีสิทธิเรียนจริยศึกษาแบบพุทธ
- สังคมไทยได้เปรียบสังคมอเมริกัน ในการจัดจริยศึกษาที่มีเอกภาพ
- สังคมไทยไม่มีเหตุผลที่จะไม่สอนจริยศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา
- เรียนพระพุทธศาสนา เพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาเพื่อสร้างชนชั้นนำ สำหรับมาพัฒนาสังคมไทย
- การศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคมไทย
- สัญญาณเตือนภัยให้เร่งรัดส่งเสริมพุทธจริยศึกษา
- บูรณาการที่หล่นหายไปจากจริยศึกษาของไทย บนเส้นทางของจริยธรรมสากล
- จริยธรรมสากล เข้าหรือขัดกับบูรณาการ
- บูรณาการการสอนและบูรณาการเนื้อหาจริยธรรมแล้ว อย่าลืมบูรณาการนักเรียนและบูรณาการโรงเรียนด้วย
- จากคติแห่งศาสนศึกษาในอังกฤษ สู่ความคิดหาทางสายกลางของการจัดจริยศึกษา
- บทเรียนจากอเมริกา วิชาศาสนาและจริยศึกษาที่เรรวน
- จะยัดเยียด หรือจะปล่อยตามใจ ก็ไม่ใช่ทางสายกลาง
- รู้จักคิด รู้จักจำ ไม่ทำให้ยัดเยียด
- จะหลบการยัดเยียด แต่กลายเป็นปิดกั้นปัญญา/ประชาธิปไตย จะห้ามนักปราชญ์ เพื่อให้โอกาสแก่โจร
- ถ้าเรียน และสอนไม่ถูกต้อง วิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นวิชาที่ยัดเยียด
- เรื่องสามัญของตนเองที่ควรจะต้องรู้ สิ่งดีที่ตนมีพิเศษ ที่จะให้และจะนำคนอื่นได้
- หลักการที่ควรตรวจสอบและปฏิบัติการที่ควรทบทวน
- วงการพระพุทธศาสนา ก็ต้องสำรวจพิจารณาและปรับปรุงตนเอง
- บทสรุปและข้อเสนอแนะ
- บันทึกของผู้เขียน
- ภาค ๒ – จริยธรรมสากล จากความเป็นกลาง สู่ความเป็นจริง
- ตื่นตัวใหม่ เมื่อเจอภัยแห่งความเสื่อม
- จริยธรรมสากล ทางตันของการแก้ปัญหาในยุคนิยมวิทยาศาสตร์
- จริยธรรมสากล อยู่ที่ความเป็นกลาง หรืออยู่ที่ความเป็นจริง
- ขอบเขตอันคับแคบ ที่จำกัดความคิดเกี่ยวกับจริยธรรม
- ก้าวสำคัญบนเส้นทางแห่งการแสวงหาจริยธรรมสากลในอเมริกา
- ก้าวใหม่ที่ไปไม่พ้นร่องเก่า
- ขยายเขตแดนแห่งความคิด จากสากลที่เป็นกลาง สู่สากลที่เป็นจริง
- บัญญัติธรรมเพื่อจริยธรรม จริยธรรมบนฐานแห่งสัจธรรม
- จริยธรรมแห่งความเป็นจริง ในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- ระบบเงื่อนไขของมนุษย์: ตัวแทรกแซงที่ถูกลืม ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย
- การแทรกแซงที่ไม่กลมกลืน ปัจจยาการแห่งปัญหาของชีวิตและสังคม
- จริยธรรมประสานสนิทกับสัจธรรม คือ สันติสุขที่สัมฤทธิ์แก่ชีวิตและสังคม
- ถ้าจับเหตุปัจจัยในกระบวนการพัฒนาผิดพลาด การศึกษาอาจเป็นเครื่องมือก่อความพินาศ
- ถ้าจะมองเขา ก็ควรสืบสาวให้ถึงเหง้าถึงราก
- ถ้าจะตามเขา ก็ควรตามอย่างรู้เท่าทัน
- การพัฒนาจริยธรรม เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ที่สัมพันธ์กันทั้งระบบเป็นองค์รวม
- ความเป็นสากลที่แท้ อยู่ที่ความเป็นจริง และความเป็นจริง คือความเป็นสากลที่แท้จริง
เรียนพระพุทธศาสนา เพื่อมาร่วมอยู่และร่วมพัฒนาสังคมไทย
๖. แม้ไม่มองในแง่ว่าเป็นศาสนา การศึกษาพระพุทธศาสนาก็เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคนไทย คือพระพุทธศาสนากลายเป็นเรื่องที่คนไทยจะต้องรู้ ในฐานะที่เป็นสถาบันสังคม เป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ใหญ่กว้างครอบคลุม เป็นเนื้อหาสาระส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทย และเป็นมรดกของชนชาติไทย
เมื่อมองกว้างๆ อย่างนี้ การศึกษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การเรียนรู้สิ่งที่คนที่อยู่ในสังคมไทยควรจะต้องรู้อย่างหนึ่ง ในฐานะที่เป็นการรู้จักเรื่องราวของประเทศของตนหรือสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมของตน เป็นสิ่งที่พลเมืองส่วนใหญ่ ถึงประมาณร้อยละ ๙๕ นับถือกันอยู่ มีขนบธรรมเนียมประเพณี ที่จะต้องเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน มีสถานที่คือวัดวาอารามมากมายกระจายอยู่ทั่วไป ตลอดจนถ้อยคำพูดจาภาษาที่ใช้อันจะต้องเกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแล้ว การอยู่การไปในสังคมไทยก็ไม่คล่องตัว แม้แต่การติดต่อสื่อสารก็ติดขัดจำกัดตัว
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นความรับผิดชอบของการศึกษา ที่จะต้องจัดให้คนไทยได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ถ้าคนไทยไม่รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งในด้านเนื้อหาและสถาบัน ก็คงจะต้องถือว่าเป็นความบกพร่องของการศึกษาของชาติ
ในฐานะที่เป็นสถาบันสังคมที่เก่าแก่มาก ซึ่งพูดได้ว่ามีมาเคียงคู่กับชนชาติไทย เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจึงปะปนอยู่ทั่วตลอดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยอย่างแยกกันไม่ออก ถ้าจะรู้ประวัติศาสตร์ไทยให้ชัด ก็ต้องรู้ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาไปด้วย
ในฐานะที่เป็นเนื้อหาส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทย คำสอนความเชื่อและการปฏิบัติที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาได้ซึมซ่านอยู่ทั่วไป และฝังลึกเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย ซึ่งปรากฏตัวให้เห็นในศิลปวัฒนธรรมทุกด้าน ทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ดนตรี ภาษา และวรรณคดี การที่จะรู้เรื่องไทยหรือไทยคดี และการที่จะอยู่จะปฏิบัติตัวในสังคมไทยส่วนใหญ่ให้เป็นไปด้วยดี จึงหลีกเลี่ยงไม่ไหวที่จะต้องรู้อะไรๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ในฐานะที่เป็นมรดกของชนชาติไทย เนื่องจากความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั่นแหละ พระพุทธศาสนาจึงได้กลายเป็นเนื้อหาสาระส่วนสำคัญของภูมิธรรมภูมิปัญญาที่สะสมสืบทอดต่อๆ กันมาเป็นสมบัติของชนชาติไทย เป็นหลักอ้างที่ทำให้เกิดความภูมิใจในความเป็นไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติของตน การศึกษาพระพุทธศาสนาจึงเป็นส่วนร่วมของคนไทยแต่ละคน ในการที่จะช่วยกันสืบทอดมรดกของชาติ และดำรงรักษาเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพลเมือง
ในฐานะที่เป็นสภาพแวดล้อมทางสังคม ฐานะนี้ก็เนื่องกันกับฐานะก่อนๆ นั่นเอง โดยเฉพาะการที่เป็นสถาบันสังคมอันใหญ่ และเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ปรากฏในทุกส่วนของวัฒนธรรมไทย พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่ไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่คนแม้ต่างชาติทุกคนที่เข้ามาในสังคมไทย หรือติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคมไทยจะต้องได้สัมผัส และรู้สึกว่าความเป็นไปต่างๆ ในสภาพแวดล้อมอันนี้มักมีผลแผ่คลุมมาถึงตัวเขา และกิจการงานของเขาด้วย
ดังนั้น การศึกษาพระพุทธศาสนาก็คือการศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมของไทย ซึ่งเป็นประโยชน์และในหลายกรณีก็ถึงกับจำเป็น สำหรับการที่จะเป็นอยู่และทำงานให้ได้ดี คือ เพื่อดำเนินชีวิตอยู่อย่างประสานกลมกลืนและทำงานดำเนินกิจการต่างๆ ให้ได้ผลในสังคมไทย
ด้วยเหตุนี้ คนต่างชาติ เช่นชาวตะวันตกที่จะเข้ามาอยู่และเข้ามาทำงานกับคนไทยในประเทศไทย ถ้ามีการเตรียมตัวอย่างดีสำหรับการที่จะมาอยู่ และทำงานให้ได้ผล จึงถือการศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับคนไทยและสังคมไทย เพื่อจะให้เขามาอยู่ได้อย่างดี และทำงานได้ผล ไม่ว่าจะในแง่ที่ว่ารู้จักชีวิตจิตใจของคนไทยแล้ว ทำให้การทำงานของเขาเองได้ผลแก่ตัวเขา หรือในแง่ที่ว่ามาทำงานให้แก่สังคมไทย เพื่อประโยชน์แก่คนไทย จึงต้องรู้จักเข้าใจคนที่เขาจะมาทำงานให้ เพื่อให้ทำงานได้ผลตรงจุดที่จะเป็นประโยชน์แก่คนไทย และสังคมไทยอย่างแท้จริง
ดังนั้น คนไทยเราด้วยกันเอง แม้จะนับถือต่างศาสนา ถ้าไม่รู้สึกถือสาในเรื่องศาสนา ก็จะเห็นความสำคัญของการที่จะศึกษาให้รู้จักพระพุทธศาสนา อย่างน้อยในฐานะที่เป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมนี้ เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมทำงานร่วมกับคนไทยส่วนใหญ่ และทำงานเพื่อประโยชน์แก่สังคมไทย ภายใต้สภาพแวดล้อมทางสังคมที่เป็นอย่างนี้ อย่างได้ผลดี
โดยนัยนี้ สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา จึงไม่จำต้องพรรณนาว่า การศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นสักเพียงไร ในการที่เขาจะรู้จักประเทศชาติและสังคมของตน ในการที่เขาจะมีส่วนร่วมสืบทอดมรดกรักษาเอกลักษณ์แห่งชาติของตน ในการที่เขาจะรู้จักสังคมและชุมชนที่เขาจะไปอยู่ร่วมทำงานร่วม และทำงานให้ และในการที่จะปฏิบัติตัวและปฏิบัติต่อสังคมไทยอย่างถูกต้องโดยทั่วไป
การจัดการศึกษาของไทย ในความหมายหนึ่ง ก็คือ การเตรียมคนไทยรุ่นใหม่ให้พร้อมที่จะมาอยู่ร่วมในสังคมไทย และมาช่วยพัฒนาสังคมไทย
ถ้าจัดการศึกษานั้นไม่ถูกต้อง โดยละเลยสิ่งที่คนไทยควรจะต้องรู้ ทำให้เขาไม่รู้จักและปฏิบัติตัวไม่ถูกแม้ต่อพระพุทธศาสนา ที่ตัวเขาเองแจ้งว่านับถือ การศึกษานั้นก็กลายเป็นเหมือนการจัดเตรียมคนไทยสำหรับให้ไปอยู่ในสังคมอื่น แล้วฝืนมาอยู่ในสังคมไทยอย่างแปลกแยกต่อกัน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นบทเรียนที่เราได้รับกันอยู่แล้วในปัจจุบัน อันจะไม่เป็นผลดีทั้งแก่ชีวิตของตัวเขาเอง และแก่สังคมไทย
จึงน่าจะต้องยอมรับว่าการศึกษาในยุคปัจจุบันของไทย มีความผิดพลาดในส่วนนี้ ซึ่งควรจะเร่งแก้ไข
No Comments
Comments are closed.